Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7886
Title: การศึกษาการดำเนินงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2533) ในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: A study of the implementation of the lower secondary school curriculum B.E. 2521 (Revised edition B.E. 2533) in school under the Expansion of Basic Education Opportunity Project under the jurisdiction of Nakhon Si Thammarat Provincial Primary Education Office
Authors: ราณี ทับเที่ยง
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Subjects: การวางแผนหลักสูตร
การศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโครงการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับการเตรียมการ การดำเนินการและการประเมินผลการใช้หลักสูตรในโครงการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูหัวหน้าหมวดวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการเตรียมความพร้อม ร.ร. ส่วนใหญ่มีการเตรียมการเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการสอน การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นระดับในโรงเรียนใช้การปรับการเรียนการสอน ประชาสัมพันธ์โดยการประชุมผู้ปกครอง มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดเตรียมสถานที่โดยครูผู้สอน มีการเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์โดยสนับสนุนให้ครูใช้และศึกษาเพิ่มเติม จัดครูเข้าสอนโดยใช้เกณฑ์ความรู้ความสามารถ มีการจัดทำแผนการเรียน ประเมินผลการเตรียมการโดยวิธีประชุม การเตรียมการนิเทศติดตามผลโดยคณะกรรมการ ด้านปัญหาพบว่าครูไม่มีเวลาจัดทำ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและขาดทักษะในการวิเคราะห์แบบทดสอบ ครูมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดการวางแผนเพื่อการนิเทศ 2) ด้านการดำเนินการ ร.ร. ส่วนใหญ่พบว่า จัดการเรียนการสอน โดยมีการแจ้งให้นักเรียนทราบจุดประสงค์วิธีการประเมินและเกณฑ์ และใช้วิธีสอนแบบบรรยาย มีการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ ส่วนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรมุ่งเน้นการส่งเสริมทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนวดำเนินการโดยคณะกรรมการแนะแนว การสอนซ่อมเสริมใช้วิธีสอนทั้งเด็กเก่งและเด็กอ่อน สำหรับการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนเน้นการตัดสินผลการเรียนและการนิเทศติดตามผลใช้วิธีเยี่ยมชั้นเรียน ปัญหาการดำเนินการพบว่าครูไม่สามารถจัดกิจกรรมให้ครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด ขาดงบประมาณสนับสนุนสำหรับการจัดสื่อและวัสดุ และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ผู้รับผิดชอบไม่ได้จบด้านแนะแนวมาโดยตรง ไม่มีเวลาในการสอนซ่อมเสริม ผู้ได้รับมอบหมายขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการนิเทศ 3) ด้านการประเมินผลการใช้หลักสูตร ร.ร. ส่วนใหญ่ติดตามกำกับการปฏิบัติงานในการเตรียมการประเมินมีการนำผลไปใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน ปัญหาคือขาดเครื่องมือ และขาดการติดตามอย่างจริงจัง
Other Abstract: The purposes of research this were to study the state and problems of the implementation of the lower secondary curriculum secondary B.E. 2521 (revised edition B.E. 2533) in schools the Expansion of Basic Education Opportunity Project under the Jurisdiction of Nakhon-Si Thammarat Provincial Primary Education Office. The samples were school administrators and heads of subject areas. The research instruments were questionnaires. The collect data were analyzed by means, frequency distribution and percentage. The research findings were as follows: 1.At the preparation stage, most schools prepared their basic data for instructional plan, instructional improvement was used in school curriculum development, public relations service was organized through parent's meeting. Coordination activity was held among the related units, classrooms and instructional medias, were and prepared by teachers, teachers were assigned according to their competencies and students programs of study were also prepared, supervisory activites were prepared by internal supervisory committer, a meeting was held to evaluate at this stage. Problems occurred were insufficient time used, insufficient knowledge regarding curriculum development and test analysis among teachers, inappropriate academic background among teachers and insufficient amount of teachers. Supervisory plans were lacked and inadequate budget were also reported to be problems. 2.At the operational stage, learning objectives ans criterias were informed to students during instructional activites in most schools, lecture type was used in teaching also as appropriate instructional medias. Students guidance service was also organized in most schools so as to remedial teaching. Evaluation was used mainly for judging student's achievement, and classroom visiting was used in supervisory activity. Problems reported were inappropriate courses offered, insufficient budget for instructional medias providing, inappropriate academic background among guidance teachers and supervisory staff, and insufficient time for remedial teaching. 3. At the evaluate stage, most schools moniterd their plans and the results were used for instructional improvement. Problems reported were lack of evaluation tools and non seriously implemented.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7886
ISBN: 9746360698
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ranee_Th_front.pdf763.6 kBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_ch1.pdf749.3 kBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_ch3.pdf702.62 kBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_ch5.pdf839.31 kBAdobe PDFView/Open
Ranee_Th_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.