Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79140
Title: การแสดงออกของโปรตีนจากเอ็กซ์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลของเซลล์แมคโครฟาจภายหลังการติดเชื้อ neisseria gonorrhoeae
Other Titles: Protein expression of extracellular vesicles from macrophage cells following neisseria gonorrhoeae infection
Authors: สหรัฐ นันทวงค์
Advisors: เขมาภรณ์ บุญบำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Subjects: หนองใน
แมคโครฟาจ
Gonorrhea
Macrophages
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) โดยมีอุบัติการณ์มากที่สุดในกลุ่มของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทยและทั่วโลก จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก ผู้ป่วยจำนวนมากไม่แสดงอาการของโรคโดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ส่วนบนและนำไปสู่การเป็นหมันและการตั้งครรภ์นอกมดลูก พยาธิสภาพของโรคเกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมกลุ่มของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบโดยเซลล์แมคโครฟาจซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบกำเนิด การตอบสนองของเซลล์ต่อการติดเชื้อภายในเซลล์สามารถติดตามได้จากเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลที่ผลิตออกจากเซลล์แมคโครฟาจ เช่น การติดเชื้อวัณโรค ลิชมาเนีย และซัลโมเนลา ที่พบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อภายในเซลล์ การปลดปล่อยเวสิเคิลนั้นจะมีผลต่อการกระตุ้นการทำงาน กระบวนการอักเสบ และปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้ ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการแสดงออกและค้นหาโปรตีนในเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลจากเซลล์แมคโครฟาจทั้งชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ N. gonorrhoeae โดยนำเซลล์เม็ดเลือดขาว THP-1 ที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเซลล์แมคโครฟาจเกิดกระบวนการฟาโกไซโทซิสเชื้อ N. gonorrhoeae เข้าไปภายในเซลล์ ติดตามการแสดงออกของโปรตีนภายในเวสิเคิล และวิเคราะห์โปรตีนด้วย Tandem mass spectrometry ซึ่งพบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนภายในเวสิเคิลที่ครอบคลุมโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อ ทั้งยังพบว่ามีความแตกต่างกันทั้งชนิดและการแสดงออกจำเพาะในช่วงเวลาของการติดเชื้อ เมื่อนำผลวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลชีวสารสนเทศทั้ง Vesiclepedia, PANTHER และ Uniprot database ศึกษาคุณสมบัติและหน้าที่ของโปรตีนภายในเวสิเคิล โปรตีนของมนุษย์ และโปรตีนของเชื้อ N. gonorrhoeae ตามลำดับ ทำให้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์และบทบาทต่อเซลล์แมคโครฟาจในช่วงเวลาที่ทดสอบ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการตรวจติดตามเชื้อก่อโรคหนองในและองค์ความรู้ในความเข้าใจบทบาทของเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลต่อพยาธิสภาพและการดำเนินไปของโรคหนองใน
Other Abstract: Gonorrhea is a sexually transmitted disease caused by Neisseria gonorrhoeae infection, with the highest incidence among the sexually transmitted diseases in Thailand and worldwide.  According to the World Health Organization report, many patients present no symptoms of diseases, especially females. Untreated patients cause infection of the upper reproductive system and lead to sterility and ectopic pregnancy. Pathology is caused by induced immune cell bundles and inflammatory processes. A macrophage is one of the essential cells in the innate immune system. The cellular response to intracellular infections can be traced from extracellular vesicles (EVs) produced by macrophages, such as Tuberculosis, Leishmania, and Salmonella infections which following the protein composition changing of macrophage and intracellular pathogens. The release of the vesicle affects the stimulate function, inflammatory, and modulate immune cells functions. This study focused on the expression protein and searched for proteins in extracellular vesicles from the macrophage, both infected and non-infected N. gonorrhoeae, by using the THP-1 lymphocytes. After stimulated THP-1 to macrophage cells, N. gonorrhoeae was phagocytosis into the cells. The expression of the protein from EVs was monitored and analyzed by tandem mass spectrometry. It was found the changing of the protein composition within the EVs that covers the proteins of macrophages and N. gonorrhoeae. Moreover, it was shown the differences in both types and specific expressions at the time of infection. The analysis results were compared with the bioinformatics database by Vesiclepedia, PANTHER, and Uniprot databases which study properties and functions of proteins within the vesicle, Human protein, and proteins of N. gonorrhoeae respectively. These would indicate the association and role in macrophages during the time course. The results of this study may contribute to the development of gonorrhea infection testing and understanding the role of EVs in pathogenesis and progression of the infection.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79140
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1045
Type: Thesis
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6076755437.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.