Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79457
Title: | อิทธิพลของการผนึกเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ที่มีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน |
Other Titles: | The influence of immediate dentin sealing with self-etching adhesive on polymerization of dental impression material |
Authors: | เอกลักษณ์ หวังหงส์หิรัญ |
Advisors: | นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Subjects: | สารยึดติดทางทันตกรรม ทันตกรรมประดิษฐ์ Dental adhesives Prosthodontics |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟันต่อการก่อตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามใหญ่ของมนุษย์ที่ปราศจากรอยผุ จำนวน ๒๒๕ ซี่ ฝังในท่อพลาสติกด้วยอะคริลิก โดยให้ตัวฟันโผล่ขึ้นมา ตัดด้านบดเคี้ยวออกในแนวตั้งฉากกับแกนฟันด้วยเครื่องตัดความเร็วต่ำจนเนื้อฟันเผยออก แบ่งฟันเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๕๕ ซี่ ตามชนิดของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟัน ได้แก่ กลุ่มที่ ๑.ฟันที่เคลือบด้วยด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสและซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอลในสภาวะออกซิเจน กลุ่มที่ ๒.เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดอยู่ในสภาวะก๊าซไนโตรเจน กลุ่มที่ ๓.เนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ และกลุ่มที่ ๔.ฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดทั้งสองชนิดแล้วถูกเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ โดยหลังทาด้วยสารยึดติดจะทำการบ่มด้วยแสง ที่ตามองเห็นจากเครื่องฉายแสง จากนั้นปิดทับด้วยวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซนกลุ่มละ ๑๐ ซี่ เมื่อปล่อยให้วัสดุพิมพ์ก่อตัว ๖ นาที นำวัสดุพิมพ์ออกเพื่อตรวจสอบการก่อตัวที่ผิวหน้าด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ จากนั้นทดสอบด้วยวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์โดยวิธีเดียวกัน นำส่วนชิ้นทดสอบที่เหลืออีกกลุ่มละ ๑๐ ชิ้น วัดค่าความเป็นกรดด่าง และอีกกลุ่มละ ๕ ชิ้น ไปวิเคราะห์หาธาตุที่ผิวหน้าด้วยกล้องอิเล็กตรอนส่องกราดฟังก์ชั่นอีดีเอ็มเอ็กซ์ ผลการศึกษา เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดมีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกัน และร้อยละร้อยของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าของชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสถูกยับยั้งการก่อตัว ขณะที่ผิวหน้าของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๓ และกลุ่มที่ ๔ มีการก่อตัวสมบูรณ์ เมื่อดูด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ส่วนของการหาธาตุบนผิวฟันของทั้งสามกลุ่ม พบว่าผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสมีองค์ประกอบของธาตุซัลเฟอร์ขณะที่ผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอล และเนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ ไม่พบธาตุดังกล่าว สรุป สารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสที่ผนึกผิวเนื้อฟันมีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซน คำสำคัญ: การผนึกเนื้อฟัน สารยึดติด พอลิไวนิลไซลอกเซน |
Other Abstract: | The purpose of this study was to determine whether dentin sealing agents had an effect on curing process of polyvinyl siloxane and polyether impression material. Materials and methods: 225 carries free human molar teeth were vertically embedded in plastic tube, leaving clinical crown evenly exposed above the acrylic surface. Occlusal table were removed perpendicular to the long axis and flat surfaces of dentin were exposed with a slow speed diamond saw. The specimens were divided into 4 groups (n=55) according to surface treatments: sealing with self-etching systems Xeno V plus and Single bond universal under oxygen (group1); sealing with self-etching systems under nitrogen (group2); no treatment (group 3); wipe with alcohol after sealing self-etching systems (group 4). After bonding agent applying, the specimens were cured with visible light curing units then polyvinyl siloxane impression material was mixed and applied on dentin surface and left it 6 minutes. The impression materials were examined by the stereo microscopy. Ten specimens from each group were measured using pH meter and the remaining five specimens from each group were analyzed element on dentin surface by EDMX function of scanning electron microscopy. Results: The pH value of adhesives had the same. From stereo microscopy, one hundred percent of impression materials at interface attached to bonding agent in group 1 and group 2 (Xeno V plus) were inhibited curing process. For EDMX analysis, sulfur elements were found on sealed dentin in the Xeno V plus only. Conclusion: The Xeno V plus bonding agent affected the curing process of polyvinyl siloxane impression material. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมประดิษฐ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79457 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.869 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.869 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5775834532.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.