Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย เสวกงาม-
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorสุธารัตน์ สมรรถการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:30:38Z-
dc.date.available2022-07-23T04:30:38Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79631-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ รวม 35 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาหรือสถานการณ์ที่มโนทัศน์ของผู้เรียนไม่สามารถแก้ไขหรืออธิบายได้ 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสังเกต รวบรวมข้อมูล หรือศึกษาจากทฤษฎีต่าง ๆ 3) การนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบตัวแทนทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์นั้น 4) การที่ผู้เรียนใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์เพื่อนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ และ 5) การนำเสนอขั้นตอนวิธีการหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นความสงสัย 2) การวางแผนเพื่อปรับมโนทัศน์ 3) การปรับมโนทัศน์โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย 4) การสรุปความหมายของมโนทัศน์ใหม่ และ 5) การนำไปใช้ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์จำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า การบอกลักษณะเฉพาะ การบอกคำจำกัดความ และการบอกตัวอย่าง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThis study was a research and development research. The main purpose of this study was to develop and study the effectiveness of an instructional model based on conceptual change model and Lech's translation model approaches to enhance mathematical concept of lower secondary school students. The research procedures were divided into 4 phases: 1) Studying the preliminary data for developing the instructional model; 2) Developing the instructional model; 3) Studying the effectiveness of instructional model, and 4) Proposing the completed instructional model. The participants were 40 students in Mattayomsuksa 3, selected by purposive sampling. The duration for implementing the instructional model was 7 weeks, 35 periods. The research instruments were Mathematics concept test. Data were analyzed using statistical mean, standard deviation, and t-test. The findings of this study revealed that: 1. The five principles of the instructional model are as follows: 1) Learning occurs when learners encounter problems or situations that can’t be solved or explained by the student's concept. 2) Interaction with environment by observing, collecting data, or studying from various theories. 3) Presentation of mathematical knowledge using a variety of mathematical representational models and their relationship to that concept. 4) The students using the agent Mathematics to present mathematical knowledge, and 5) Presentation of the algorithm for finding the correct and appropriate answer. This instructional model consisted of 5 stages, as namely 1) Arousing suspicion; 2) Planning for conceptualization; 3) Using various representation for conceptualization; 4) Summarizing the meaning of a new concept, and 5) Implementation. 2.The effectiveness of the instructional model after implementation was found. The average score of Mathematics concept was higher than before the experiment at the .05 level of significance and the average score of Mathematics concept in characterization, definition, and giving examples were also higher than before the experiment at the .05 level of significance. In addition, Mathematical concept of the students had a positive change.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1117-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectความคิดรวบยอด-
dc.subjectMathematics -- Study and teaching ‪(Secondary)‬-
dc.subjectConcepts-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-
dc.title.alternativeDevelopment of an instructional model based on conceptual change model and lesh’s translation model approaches to enhance mathematical concept of lower secondary school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1117-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984481227.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.