Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79643
Title: การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Activities development of digital sculpture character creation for undergraduate students
Authors: ยุทธวี เจ๊ะเละ
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ตัวการ์ตูน -- การออกแบบ
การออกแบบกราฟิก -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Cartoon characters -- Design
Graphic design -- Study and teaching (Higher)
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 4กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 2. อาจารย์ผู้สอนวิชาประติมากรรมตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 3. สถาบันระดับอุดมศึกษาในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 2แห่ง และ 4. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 10คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการสอน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติจากแบบสังเกตการสอน มี 4องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมการสอน ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน สื่อประกอบเนื้อหาการสอน สภาพห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ สื่อประเภทข่าวสาร เนื้อหาจำเพาะ วิธีการ ตัวอย่างผลงาน  1.2 กระบวนการสอน จัดเนื้อหาการสอนสร้างชิ้นงานตั้งแต่สอนความรู้พื้นฐานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีการสอนในแต่ละด้าน 1.3 การดำเนินการสอน ด้วยสื่อการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน 1.4 พฤติกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย ความสนใจของผู้เรียนระหว่างทำการสอนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 2. กระบวนการสร้างและวิธีการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล ครอบคลุมถึงกระบวนการทั้ง 5ด้าน ประกอบด้วย 2.1 ด้านการออกแบบตัวละคร 2.2 ด้านการวิเคราะห์แบบตัวละคร 2.3 ด้านการสร้างและตกแต่งชิ้นงาน  2.4 ด้านการสร้างความสมจริง และ 2.5 ด้านการประเมินผลงาน โดยใช้มีวิธีการสอนแบบบรรยาย สอนแบบคิดวิเคราะห์ สอนแบบอภิปรายผล สอนแบบสาธิตใช้ตัวอย่างประกอบ และสอนแบบสืบสวนสอบสวน 3. รูปแบบกิจกรรมสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล มีการจัดลำดับเนื้อหาโดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมสู่เทคนิคการสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เข้าใจวิธีการออกแบบสร้างชิ้นงานตามเวลาที่กำหนด ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสร้างตัวละครโดยประเมินดูจากความถูกต้องตามแนวคิดที่วางไว้ ผลการตรวจสอบรับรองคุณภาพกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน อยู่ในระดับ มาก และผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมหลังการทดลอง พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.33, S.D. = 0.49) ซึ่งประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านเนื้อหา เรื่องความรู้เกี่ยวกับการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลที่มากขึ้นหลังจากผ่านกิจกรรมดังกล่าว (x̄ = 4.80, S.D. = 0.40)
Other Abstract: The purposes of this research were 1. to study the process of Digital Sculpting Character (DSC) for undergraduate student and, 2. to develop of the DSC activities for undergraduate student. This study used research and development methodology. The samples were purposive sampling, divided into 4 groups, comprising: Seven experts in digital character design and creation, Seven Digital Sculpture Character instructors, Two higher education institution in 3D computer graphics course and, Ten undergraduate students who enrolled in 3D computer graphics course. The research instruments were teaching observation form, questionnaire, structured interview form and, satisfaction assessment form. Quantitative data analysis was based on the determination of the average, percentage, frequency, standard deviation and qualitative data analysis was based on content analysis. The results of research could be concluded as follows. 1. Instructional management for the DSC in 3D computer graphics course from observation form included 4 main components, namely: 1.1 Teaching preparation; the instructors’ readiness, instructional media for its content, computer graphic lab, online instructional ascertainment such as media content, specific, tutorial and, full complete of 3D digital character. 1.2 Teaching process; organizing the teaching content to create workpieces, ranging from teaching basic knowledge to creating workpieces by creatively applying instructions through the teaching methods in each aspect. 1.3 Teaching operation with instructional media; allowing the students to participate and group solving problem. 1.4 Students' behaviors; students' attention during teaching both positive and negative aspects. 2. The process and teaching methods of the DSC covered all five aspects consisted of; 2.1 DSC design, 2.2 DSC design analysis, 2.3 Creation and decoration, 2.4 Photorealistic and, 2.5 Evaluation. The instructional method involved of lecture, analytical, discussion, demonstration and inquiry procedure. 3. The Digital Sculpting Character Activities Model (DSCAM) included sequence of the content from beginning thru advance to develop students’ skill by their own, master their DSC design in specific time frame under their own creativities and the conceptual validities. The results of activity quality assurance audit by 3 experts were at high level.  Meanwhile,  the overall activities satisfaction after the experiment revealed at high level (x̄ = 4.33, S.D. = 0.49). The most satisfaction was the instruction content, more knowledge gained about the DSC. (x̄ = 4.80, S.D. = 0.40).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79643
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1034
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1034
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183370627.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.