Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79671
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ น่วมนุ่ม-
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ ตัณทานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:31:14Z-
dc.date.available2022-07-23T04:31:14Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79671-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม   2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาลักษณะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ใช้เวลาในการวิจัย 20 คาบเรียน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบสัมภาษณ์ลักษณะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบลำดับเครื่องหมายของข้อมูลที่จับกันเป็นคู่ของวิลคอกซ์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนตัวแทนส่วนใหญ่ สามารถแยกแยะข้อมูล ค้นหาความสัมพันธ์ และค้นหาหลักการหรือความรู้มาอธิบายความสัมพันธ์จากสถานการณ์ที่กำหนดได้-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to compare the mathematical knowledge of students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies to a criteria of 70 percent, 2) to compare the analytical thinking ability of students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies to a criteria of 70 percent, 3) to compare the analytical thinking ability of the students before and after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies, and 4) to study the characteristics of the analytical thinking of students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies. The sample group consisted of 35 students in tenth grade at Sukhothaiwittayakom School in second semester of academic year 2021, with a total of 35 students who spent 20 classes over the period of 10 weeks. The instruments used for data collection were a mathematical knowledge test, a pre-test and post-test of analytical thinking ability, and an interview form of analytical thinking. The data were analyzed by statistical mean, percentage, standard deviation, t-test, Wilcoxon signed - rank test and content analysis. The results of the research revealed that 1) the mathematical knowledge of the students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies was not higher than 70%; 2) the analytical thinking ability of the students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies were higher than 70% at a .05 level of significance; 3) the analytical thinking ability of the students after learning by using model of teaching for abstraction with visual learning strategies were higher than at pre-learning state at a .05 level of significance; and 4) most represented students can separate data from given situations, find the relationships between data, and connect the knowledge to explain that relationships.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.556-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์-
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณ-
dc.subjectMathematical ability-
dc.subjectMathematics -- Study and teaching ‪(Secondary)‬-
dc.subjectCritical thinking-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-
dc.title.alternativeEffects of using model of teaching for abstraction combine with visual learning strategies on mathematical knowledge and analytical thinking ability of tenth grade students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.556-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280026527.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.