Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79710
Title: การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์
Other Titles: Designing the guidelines for enhancing teamwork/virtual teamwork skills in offline and online professional learning community
Authors: ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์
Advisors: กนิษฐ์ ศรีเคลือบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ครู -- การทำงานเป็นทีม
กลุ่มทำงานเสมือน
Teachers -- Teams in the workplace
Virtual work teams
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รูปแบบการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานในบริบทออนไลน์มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ให้ครูทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู (3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนไปใช้ในบริบทจริง ทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ การแบ่งปันความรู้และสารสนเทศ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ และความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน ศึกษากับครูจำนวน 360 คนใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) จากการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และฉบับกระดาษ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย (1) สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (one-way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (paired-samples t-test) ดำเนินการวิจัยด้วยการคิดออกแบบ (Design Thinking) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพขั้นเข้าใจ ผลที่ได้นำไปสู่ขั้นกำหนดปัญหา ระยะที่ 2 การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนขั้นสร้างความคิด ขั้นสร้างต้นแบบ และขั้นทดลอง  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนค่อนข้างสูง ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมปลายมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่สอนชั้นประถมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่เป็นผู้นำมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่เป็นสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบ ครูส่วนใหญ่สามารถแบ่งปันความรู้สารสนเทศและเป็นผู้นำในรูปแบบเผชิญหน้ากันได้ดีกว่าการทำงานเป็นทีมเสมือน และครูมีคุณลักษณะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือน 7 ลักษณะ 2. แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย (1) แนวทางพื้นฐานสำหรับส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนโดยจะต้องสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน สร้างความไว้วางใจ กำหนดและใช้เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันบนพื้นที่ออนไลน์ ฯลฯ และ (2) แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู ประกอบด้วย สภาพปัญหา จุดเน้นที่ควรส่งเสริม บทบาทหน้าที่ กิจกรรม/กระบวนการ วิธีการสื่อสาร การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เช่น ส่งเสริมการใช้เครื่องมือแบบ Interactive สร้างบรรยากาศที่น่าสนใจในการทำงานเป็นทีมเสมือนสำหรับครูที่มีทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือนสูง ฯลฯ 3. ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนไปใช้ในบริบทจริงมีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 4 ประการ คือ ความต้องการ ระยะเวลา ความพร้อมของอุปกรณ์และเทคโนโลยี และการร่วมมือกับบุคคลภายนอกการนำไปใช้ควรนำไปใช้อย่างยืดหยุ่น บูรณาการให้สอดคล้องกับความต้องการเลือกแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม
Other Abstract: The style of teamwork in PLC of teachers has changed to working more in an online context. It is necessary to support virtual teamwork/virtual teamwork skills in offline and online PLC for teachers to work together effectively. This research aims to (1) To analyze teamwork and virtual teamwork skills with success factors, problems, and obstacles of teamwork in PLC. (2) To design guidelines for enhancing teamwork/virtual teamwork in offline and online PLC that are consistent with teacher’s persona. (3) To analyze the feasibility of applying the guidelines for enhancing teamwork/virtual teamwork skills in real-world contexts. Teamwork and Virtual Teamwork skills consist of 6 components: responsibility to one’s role and duty, knowledge and information sharing, effective communication, collaboration support, leadership, and peer-confidence. The study was conducted on 360 teachers by using convenience sampling from online and paper-based data collection. The instrument was teamwork in PLC questionnaire to verify the quality with content validity, reliability, and construct validity with Confirmatory Factor Analysis. The data were analyzed by (1) descriptive statistics such as frequency, mean, percentage and standard deviation. (2) Inferential statistics were one-way ANOVA and paired-samples t-test. The research was conducted with Design Thinking divided into 2 phases, i.e. Phase 1 Analysis of teamwork skills and virtual teamwork skills, working conditions. The online PLC was the study of both quantitative and empathizes. The results lead to Define Problem. Phase 2, the design of guidelines for enhancing team/teamwork skills as if to Ideate, Prototype, and Test. The results of this research can be summarized as follows; 1. The teachers had a quite high level of teamwork/virtual teamwork skills. There were secondary school teachers who had significantly higher teamwork/virtual teamwork skills than elementary school teachers at .05, and the leading teacher had higher virtual teamwork/teamwork skills than their member teachers. Most of the teachers were better at sharing information and leadership in face-tot-face format than in virtual teamwork. Moreover, the teachers had 7 teamwork virtual/teamwork traits. 2. Guidelines for enhancing virtual teamwork/teamwork skills in Professional Learning Communities: (1) Basic guidelines for enhancing virtual teamwork/teamwork skills with must support collaboration, leadership, peer-confidence, building trust, and using tools for collaborating online, etc.; and (2) Guidelines for enhancing teamwork/virtual teamwork skills that are consistent with teachers' persona consist of problem conditions, focus areas that should be enhanced, roles, duties, activities/processes, communication method for learning and self-development, such as enhancing the usage of interactive tools, creating an interesting atmosphere of virtual teamwork for teachers with high teamwork skills and virtual teamwork skills, etc. 3. Applying guidelines for enhancing teamwork/virtual teamwork skills in a real-world context is feasible depends on four conditions: demand, duration, availability of equipment and technology, and collaborating with third parties. The guidelines should be flexibly applied to one’s need and choose appropriate guidelines or practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79710
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.879
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.879
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380076027.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.