Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.authorภัคจิรา จงสุกใส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:32:06Z-
dc.date.available2022-07-23T04:32:06Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79713-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ตรวจสอบคุณภาพวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกันโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนน ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์แต่ละข้อคำถามสอดคล้องกับกระบวนการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น ชั้นที่ 1 ประเมินตามข้อรายการย่อยให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ชั้นที่ 2 แปลงคะแนนชั้นที่ 1 (2) วิธีตรวจ  ให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับแนวคำตอบ ความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนภายในผู้ประเมินและความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ประเมินมีค่าสูง และ (3) ผลการเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง สำหรับทุกวิธีตรวจให้คะแนนแบบสอบที่มีความเที่ยงตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป เมื่อพิจารณาภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 1 คน จะใช้แบบสอบ 6 เหตุการณ์ ภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 2 คน จะใช้แบบสอบ 5 เหตุการณ์ พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นให้ค่าความเที่ยงสูงสุด รองลงมา คือ วิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น โดยเทียบกับวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความเที่ยงสูงกว่าวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThis thesis was aimed at (1) developing a modified essay question test for measuring mathematical critical thinking skills and double layer scoring rubric for ninth grade students, (2) examining the quality of the double layer scoring rubric for ninth grade students, and (3) comparing the reliability of the modified essay question for measuring mathematical critical thinking skills with different scoring methods by an application of generalizability theory. Samples comprised of 90 ninth grade students. Research instruments included the essay question test for mathematical critical thinking skills and three types of scoring rubrics. Result were as follows: (1) Each question of the modified essay questions test was in accordance with the process of mathematical critical thinking. The first step of the double -layer scoring rubric concentrated on a detailed assessment of validity, an understanding of what was being measured, and communication in mathematics. Scores obtained from the first step were converted into those of the second step according to the assigned criteria. (2) The double layer scoring rubric yielded content validity, which conformed to the answering guideline and reliability of scoring of an individual assessor as well as between assessors was at a high level. (3) Comparison of reliability of the modified essay question test for measuring mathematical critical thinking skills conducted under the G-coefficient for test questions with validity of 0.7 or above, the comparison, done by an assessor using 6-situation testing and 2 assessors using 5-situation testing, showed that the double layer scoring rubric was of the highest precision, followed by the analytic method and Knox scoring method, respectively. The difference in the precision of the modified essay question test for measuring mathematical critical thinking skills, in which the double layer scoring rubric was significantly higher precision than the analytic method and Knox scoring method with value of 0.1, respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.881-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectข้อสอบอัตนัย -- ความเที่ยง-
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- ข้อสอบ-
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณ -- การทดสอบความสามารถ-
dc.subjectSubjective tests -- Reliability-
dc.subjectMathematics -- Examinations-
dc.subjectCritical thinking -- Ability testing-
dc.subject.classificationMathematics-
dc.titleความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิด วิจารณญาณทางคณิตศาสตร์:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง-
dc.title.alternativeReliability of modified essay question test for measuring critical thinking skills in mathematics under different testing conditions: an application of generalizability theory-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.881-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380123827.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.