Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79748
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพงศ์ พันธ์น้อย-
dc.contributor.authorริณรนินณ์ สิริพันธะสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:38:42Z-
dc.date.available2022-07-23T04:38:42Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79748-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ทั้งเขา ป่า นา และทะเลสาบน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของมนุษย์ และธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบน้อยและทะเลสาบสงขลาศูนย์กลางอารยธรรมการประมงและเกษตรกรรมลุ่มน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้ที่อยู่คู่จังหวัดพัทลุงมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันภูมิทัศน์วัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าวได้กลายมาเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ และได้สร้างปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับจังหวัดพัทลุงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  ประกอบบกับผลของการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และประเทศได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมยังมีจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะผลงานศึกษาที่ว่าด้วยแนวทางการศึกษาและรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจถึงระบบความสัมพันธ์อันก่อเกิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างแท้จริง ด้วยความสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีต่อพื้นที่และช่องว่างของการศึกษาดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้งานวิจัยฉบับนี้มีเป้าประสงค์หลัก 2 ประการ ประการแรกคือ การสร้างความเข้าใจต่อองค์ประกอบ ระบบความสัมพันธ์ และวิวัฒนาการของภูมิทัศน์วัฒนธรรมและแสวงหาแนวทางการรักษาและรับมืออย่างเหมาะสม ประการที่ 2 คือ การเสนอแนะแนวทางในการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สอดคล้องบริบทของพื้นที่ศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดทางการศึกษาและบริหารจัดการสืบไป โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและแปรผันตลอดเวลาในสถานการณ์ปัจจุบันได้ส่งผลโดยตรงต่อการคงอยู่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมในจังหวัดพัทลุงและอาจนำมาสู่การสูญเสียภูมิทัศน์วัฒนธรรมในทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาในที่สุด อาทิปรากฎการณ์การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของสังคมโลกที่ส่งผลต่อสังคมแรงงานในภาคการเกษตรและประมงซึ่งถือเป็นรายได้หลักของจังหวัดพัทลุง การหวนคืนสู่ถิ่นฐานของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญต่ออาชีพการบริการมากกว่าการต่อยอดหรือสืบสานอาชีพและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของบ้านเกิด เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativePhatthalung is a geographically diverse province with mountains, forests, rice fields, and fertile freshwater lakes. The diversity of natural resources reflects the relationship between culture and human beings including the unique nature or cultural landscape. Especially, in Thela noi and Songkhla lakes, the center of fishing and agricultural civilization and the largest freshwater basin of the southern region. At present, the cultural landscape in the area has become a vital tourism resource of Phatthalung that tourists are interested in and has created a phenomenon of significant economic, social, and environmental changes for Phatthalung continuously over the past 10 years. Moreover, the study results of cultural landscapes in Thailand are relevant that research on cultural landscapes in Thela noi and Songkhla lakes area is still a small number, especially the studies on the guideline and framework for studying components and the system of the cultural landscape that focuses on creating a real understanding of the relationship system that forms the cultural landscape. Therefore, this research has two main objectives. The first one is to understand the elements of the relationship of the cultural landscape’s evolution and seek appropriate conservation and coping methods. The second one is to suggest guidelines for studying cultural landscapes that are consistent with the context of the study area and useful for further education and management. And the results of the study showed that the current changes in the economic system, social structure, and the environment that occurs and changes all the time in the current situation directly affect the persistence of the cultural landscape in Phatthalung and might lead to the loss of the cultural landscape in Thale Noi and Songkhla Lake in the end-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.540-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleองค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในพื้นที่ทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง-
dc.title.alternativeElements and changes of cultural landscape in Thale Noi and Songkhla lake area, Phattalung province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางผังและออกแบบเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.540-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370070025.pdf20.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.