Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ วิเศษกุล-
dc.contributor.advisorมีนา สาริกะภูติ-
dc.contributor.advisorมธุรส พงษ์ลิขิตมงคล-
dc.contributor.authorศิริลักษณ์ เจนช่างกล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-09-08T02:00:47Z-
dc.date.available2008-09-08T02:00:47Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741740824-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8011-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractเบอเบอรีน เป็นสารสกัดอัคคาลอยด์ที่สามารถพบได้ในพืชสมุนไพร และมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบสารเบอเบอรีนต่อเชื้อ T. evansi Npl 8/2 และ VPh03 ซึ่งเป็นเชื้อโปรโตซัวที่เป็นปรสิตในกระแสเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 วิธี คือ การศึกษาในหนูทดลอง การศึกษาในหลอดทดลอง (ศึกษาเพิ่มเติม) และการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของ telomerase activity ของเชื้อหลังได้รับสารเบอเบอรีน ผลการศึกษาในหนูทดลอง พบว่าเมื่อทำการฉีดสารเข้าทางช่องท้องหนูขนาด 10 และ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระดับเชื้อ 10[superscript 7.5] ตัวต่อเลือด 1 มิลลิลิตร สารเบอเบอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทั้ง 2 isolates และเมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยฉีดสารเบอเบอรีนขนาด 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 2 ครั้งที่ระดับเชื้อ 10[superscript 7.5] และ 10[superscript 8.4] ตัวต่อเลือด 1 มิลลิลิตร และที่ระดับเชื้อต่ำๆ คือ 10[superscript 5.4] ตัวต่อเลือด 1 มิลลิลิตร พบว่า สารเบอเบอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อได้เช่นกัน ผลการศึกษาสารผสม Berenil[Registered sign] ขนาด 0.58 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กับสารเบอเบอรีนขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่า สารผสมเบอเบอรีนไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อหรือไม่มีฤทธิ์เสริมการทำงานของ Berenil[Registered sign] ได้ และสารเบอเบอรีนมีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันเบื้องต้น ในเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับ 25.29 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทางตรงกันข้าม เมื่อทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยนำสารเบอเบอรีนมาเจือจางแบบ 2-fold dilution ตั้งแต่ระดับ 90.9-2.8 ไมโครโมลาร์ แล้วทดสอบกับเชื้อทั้ง 2 isolates พบว่า สารเบอเบอรีนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ T. evansi Npl 8/2 และ VPh03 ได้ โดยมีค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) เท่ากับ 45.2 ไมโครโมลาร์ ที่เวลา 24 ชั่วโมง และ 22.6 ไมโครโมลาร์ ที่เวลา 72 ชั่วโมง ตามลำดับ ในขณะที่สารละลาย 0.5% DMSO ที่ใช้เป็นตัวทำละลายสารเบอเบอรีน ไม่มีผลต่อการเจริญของเชื้อ T. evansi สำหรับผลการศึกษาการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของ telomerase activity ของเชื้อ T. evansi Npl 8/2 ในหลอดทดลอง พบว่า สารเบอเบอรีนที่ระดับความเข้มข้น 2.8-90.9 ไมโครโมลาร์ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ Telomerase avtivity ของเชื้อ เมื่อทำการทดสอบกับสารละลายโปรตีนของเชื้อปริมาณ 5 ไมโครกรัม ในขณะที่ในกลุ่มของสารละลายโปรตีนปริมาณ 10 และ 20 ไมโครกรัม สารเบอเบอรีนมีฤทธิ์เพิ่ม telomerase activity ของเชื้อ อย่างไรก็ตาม สารเบอเบอรีนอาจจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อที่เป้าหมายอื่น เนื่องจากสารเบอเบอรีนไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง telomerase activity ของเชื้อ ซึ่งควรทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปen
dc.description.abstractalternativeEffects of berberine, the natural herbal extract, on haemoflagellated protozoa, Trypanosoma evansi have been studied by three different approaches. In the first approach, the outbred mice were infected with 2 different isolates of T. evansi, Npl 8/2 and VPh03 followed by the intra-peritoneal injection of 10 or 20 mg/kg of berberine. There were no effects of berberine on both isolates to neither parasitemia of as high as 10[superscript 8.4] nor as low as 10[superscript 5.4] trypanosomes/ml mice blood. Berberine was used in combination with Berenil[Registered sign]. A dose of 20 mg/kg of berberine was injected with 0.58 mg/kg of Berenil[Registered sign]. There was no inhibitory effect of the combination to the trypanosomes infected mice. The toxicity of berberine was also tested. In spite of the high concentration of berberine at 25.29 mg/kg at the first 24 hours of injection, the preliminary study of berberine toxicity had shown no impact on mice. The second approach was to study the effect of berberine on the in vitro culture of trypanosomes. When berberine was applied to the cultures at different concentrations, from 2.8 micrometre to 90.9 micrometre, the herbal extract can eliminate T. evansi Npl 8/2 at the MIC of 45.2 micrometre at 24 hrs and VPh03 at the MIC of 22.6 micrometre at 72 hrs. There were no inhibition of parasite growth, while the berberine's solvent 0.5% DMSO was used as a negative control. In the third approach, we examined berberine on the telomerase activity of the parasite. The application of berberine, from 2.8 micrometre to 90.9 micrometre, cannot decrease the level of telomerase activity when the crude extract of 5 microgram protein were used. In contrast, we found that telomerase activity was increasing when 10 and 20 microgram of protein crude extract was applied. The result suggested that the telomerase of T. evansi is not a target of berberine. However, the inhibitory effect of berberine on T. evansi growth requires the additional investigation.en
dc.format.extent1352396 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบอเบอรีนen
dc.subjectการรักษาด้วยสมุนไพรen
dc.titleผลของสารเบอเบอรีนต่อเชื้อ Trypanosoma evansi ในหนูทดลองen
dc.title.alternativeThe effect of berberine on Trypanosoma evansi infection in miceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNareerat.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorMeena.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorscmpl@mahidol.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriluk.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.