Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทศพล ปิ่นแก้ว | - |
dc.contributor.author | ภูริช ฉั่วสุวรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T05:15:20Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T05:15:20Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80120 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | ฐานรากแพขนาดใหญ่เป็นที่นิยมใช้มากขึ้นในโครงการก่อสร้างอาคารสูง การก่อสร้างฐานรากแพขนาดใหญ่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิบริเวณผิวและแกนภายในคอนกรีตที่แตกต่างกันมากจากความร้อนของปฏิกิริยาไฮเดรชันของคอนกรีตและการระบายความร้อนที่ดีกว่าบริเวณผิว ส่งผลให้เกิดความเค้นในคอนกรีตที่อาจสูงกว่ากำลังรับแรงดึงในช่วงแรกที่ยังพัฒนากำลังไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาการแตกร้าวซึ่งส่งผลเสียต่อความทนทานของฐานรากแพ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาและนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแทนที่คอนกรีตบริเวณแกนกลางด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชันและช่วยดูดซับความร้อนบริเวณแกนกลางของฐานราก การศึกษาอาศัยการสร้างแบบจำลอง 3D finite element เพื่อทำนายอุณหภูมิและความเค้นที่เกิดขึ้นในฐานรากแพจำนวน 2 ฐาน ซึ่งปรับเทียบผลกับการตรวจวัดอุณหภูมิของฐานรากแพจริง จากนั้นจึงพิจารณาการใส่คอนกรีตเบาหล่อสำเร็จในฐานรากแพในตำแหน่งที่มีความเค้นน้อยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับการรับแรงของฐานรากแพ แล้วทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของอุณหภูมิและตรวจสอบความเค้นที่เกิดขึ้นในฐานรากแพเปรียบเทียบกับกรณีการก่อสร้างแบบปกติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนของคอนกรีตฐานรากแพขนาดใหญ่ | - |
dc.description.abstractalternative | A large mat foundation has become more popular among tall building construction. During construction, its thermal crack problem, due to temperature difference between concrete surface and concrete core generated from hydration reaction, is concerned. Consequently, the induced concrete stresses may higher than tensile strength in early age concrete which has not been fully strength developed. This thermal crack problem negatively affects the durability of a large mat foundation. This research aims to study and present an idea for solving the problem by replacing concrete core with precast lightweight concrete which cannot only reduce the heat from hydration reaction but also absorb the heat at concrete core. This study uses 3D finite element model to predict temperature and stress inside 2 large mat foundations. Actual temperatures of the large mat foundations were also measured, and the results were used to improve the accuracy of the models. Then, the models with precast lightweight concretes partially replaced into mat foundations in small stress region is studied. The thermal stress analysis of the mat foundations with and without precast lightweight concretes is compared in order to demonstrate the efficiency in reducing the risk of thermal crack in large mat foundations. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.929 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงอุณหภูมิของฐานรากแพขนาดใหญ่ด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ | - |
dc.title.alternative | Thermal improvement of large mat foundation using embedded precast lightweight concrete | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.929 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370440421.pdf | 10.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.