Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80173
Title: Sustainable business development through sufficiency economy practice : a case study of Thai listed companies
Other Titles: การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Authors: Veerawin Korphaibool
Advisors: Pattanaporn Chatjuthamard
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of the research is to determine the sufficiency economy philosophy (SEP) performance through annual and sustainable development reports and simplify the outcomes by representing through a scoring system. Each of the SEP elements was aligned with each GRI sub-topic to generate a SEP scoring system. Then, the results from the scoring system were verified by testing the relationship between SEP performance and firm-specific risk of 34 Thai listed companies from 2013 to 2018 via panel data analysis. The global reporting initiative (GRI) standards were used as the fundamental scoring system as it's widely used and accepted in academic and business sectors. Univariate analysis results suggested that firms with high SEP scores generated a higher return on equity and paid a higher dividend payout ratio to the shareholders. The SEP scores were used to test two hypotheses of risk reduction and managerial opportunism. The hypotheses were tested using fixed effects regression and the results supported the risk reduction hypothesis and this practicing SEP reduced firm-specific risk. To validate the results, a two-stage least squares instrumental variable (2SLS-IV) analysis was performed to estimate the causal relationship between SEP performance and firm-specific risk. The results remained negatively and significantly correlated, indicating that SEP practice stimulated business sustainability. The findings suggested that the SEP scoring system was able to capture SEP performance and practicing SEP appeared to reduce firm-specific risk, which was consistent with the risk reduction hypothesis of the stakeholder theory. In summary, The SEP practice had a significant impact on reducing firm-specific risk and increased firm profitability. Implementing SEP can lead firms toward sustainability and increase strength from adopting the SEP three cores and two underlying conditions.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านรายงานประจำปีและรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีและลดความซับซ้อนของการแสดงผลลัพธ์โดยการนำเสนอผ่านระบบการให้คะแนน องค์ประกอบแต่ละรายการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถูกจัดให้สอดคล้องกับหัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อตามมาตรฐาน global reporting initiative (GRI) เพื่อสร้างระบบการให้คะแนนผ่านการประเมินผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเสี่ยงเฉพาะบริษัท (firm-specific risk) ของ 34 บริษัทจดทะเบียนไทยตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2561 ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบข้อมูลช่วงยาว (panel data) มาตรฐาน GRI ถูกใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างระบบการให้คะแนนเนื่องจากมาตรฐาน GRI ถูกใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในภาควิชาการและภาคธุรกิจ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียวแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีการปฎิบัติสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างมากจะมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงกว่าและมีการจ่ายเงินปันผลไปยังผู้ถือหุ้นสูงกว่าบริษัทที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อย คะแนนผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้เพื่อทดสอบสองสมมติฐานของการลดความเสี่ยง (risk reduction) และการฉวยโอกาสในการบริหารจัดการ (managerial opportunism) สมมติฐานดังกล่าวถูกทดสอบผ่านการวิเคราะห์การถดถอยผลกระทบคงที่และผลลัพธ์สนับสนุนสมมติฐานการลดความเสี่ยง (risk reduction) ผลลัพท์จากการวิเคระห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ช่วยลดความเสี่ยงเฉพาะบริษัทได้ และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์การวิเคราะห์ถดถอยกำลังสองน้อยสุดสองขั้นตอน (2SLS-IV) ถูกสร้างขึ้นเพื่อประมาณความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างประสิทธิภาพของผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท ผลลัพธ์ยังคงมีความสัมพันธ์เชิงลบและมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ช่วยกระตุ้นความยั่งยืนของธุรกิจ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าระบบการให้คะแนนผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านรายงานประจำปีและรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีสามารถจับประสิทธิภาพผลการดำเนินงานได้และการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงเฉพาะบริษัท ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการลดความเสี่ยง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะนำไปใช้ในการลดความเสี่ยงเฉพาะของบริษัทและยังสามารถเพิ่มผลการดำเนินงานของบริษัทให้ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงสร้างความยั่งยืนและสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทจากการใช้หลักการสามห่วงและสองเงื่อนไขเป็นพื้นฐาน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2020
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environment, Development and Sustainability
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80173
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.191
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.191
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987851320.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.