Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขวัญรัฐ ส่วนพงษ์-
dc.contributor.advisorสุชาติ ไตรภพสกุล-
dc.contributor.authorปฐมพล เหล่าวิระยะศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:26:09Z-
dc.date.available2022-07-23T05:26:09Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความแตกต่างในด้านคุณลักษณะและอุปนิสัยระหว่างผู้ประกอบการระยะเริ่มต้นและผู้ประกอบการที่มั่นคงแล้วซึ่งมีผลต่อการประกอบธุรกิจจัดตั้งใหม่ เพื่อพัฒนาระบบประเมินอุปนิสัยและคุณลักษณะผู้ประกอบการ โดยรวบรวมตัวแบบคุณลักษณะความโน้มเอียงในการเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาด การดูดซับความรู้ และอุปนิสัยความมีใจรักและความเพียร และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการ 123 ราย แบ่งเป็น 47 ราย ที่ทำธุรกิจมาน้อยกว่า 3.5 ปี และ 76 ราย ที่ทำธุรกิจมามากกว่า 3.5 ปี แล้วทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่ม ผลการวิเคราะห์พบว่าค่ารวมปัจจัยคุณลักษณะของกลุ่มผู้ประกอบการที่มั่นคงแล้วที่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 3.5 ปี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผู้ประกอบการระยะเริ่มต้น แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้านคุณลักษณะย่อยแต่ละปัจจัยในด้าน 1) การแก้ปัญหาผ่านการทดลองด้วยตนเอง 2) การทำสิ่งต่างๆโดยคาดการณ์ถึงปัญหาหรือความต้องการในอนาคต 3) การพยายามช่วยเหลือหากลูกค้าประสบปัญหากับสินค้าและบริการ 4) การตอบสนองต่อลูกค้าเมื่อพบว่าลูกค้าไม่พึงพอใจกับคุณภาพการบริการ 5) ความคุ้นเคยกับการดูดซับความรู้ใหม่ และอุปนิสัย 6) ด้านความมุ่งมั่นและความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ผลการวิจัยเสนอแนวทางการประเมินเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประการธุรกิจระยะเริ่มต้นให้เป็นผู้ประกอบการที่มั่นคงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยย่อยทั้งด้านอุปนิสัยความมีใจรักและความเพียรควบคู่ไปกับ ความโน้มเอียงในการเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาด และการดูดซับความรู้ โดยผลการวิเคราะห์สามารถนำมาพัฒนาระบบประเมินอุปนิสัยและคุณลักษณะผู้ประกอบการเพื่อสนับสนุนการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการระยะเริ่มต้นที่มีศักยภาพ รวมถึงดำเนินโครงการส่งเสริม บ่มเพาะ พัฒนา หรือให้ทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the differences between early-stage entrepreneurs and entrepreneurs of established business in terms of characteristics and traits, covering Entrepreneurial Orientation (EO), Market Orientation (MO), Absorptive Capacity (ACAP), and Grit. The data were collected from 123 entrepreneurs, divided to 47 entrepreneurs, doing business for less than 3.5 years, and 76 entrepreneurs, doing business for more than 3.5years, with questionnaires used for statistical analysis. The results of the research revealed that there were no differences in EO, MO, ACAP and Grit between the two groups of entrepreneurs. However, those who have been in business for more than 3.5 years are distinguished in the 1) favoring original approaches to problem solving 2) acting in anticipation of future 3) helping customer to solve the problem 4) taking action when find out that customers are unhappy with their services 5) familiar with absorbing of new knowledge and 6) commitment and consistent of focus on goal. The results of this research proposed a guideline for assessing and promoting early-stage entrepreneurs by considering the key factors related to trait and characteristics of Entrepreneurial Orientation, Market Orientation, and Absorptive Capacity. The findings in the research were used to develop an assessment system, supporting evaluation process of ealy-state entrepreneurs, while promoting, incubating, developing and investing in them more efficiently.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.634-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleระบบประเมินอุปนิสัยและคุณลักษณะของผู้ประกอบการ-
dc.title.alternativeAn assessment system for traits and characteristics of entrepreneurs-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.634-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280124420.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.