Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80238
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น-
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.authorรังรองรัตน์ อินทร์พยุง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:26:42Z-
dc.date.available2022-07-23T05:26:42Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80238-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแปรที่มีผลต่อการวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการกู้ยืมระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์จากข้อมูลทางเลือกแบบทดสอบบุคลิกภาพและแบบประเมินเจตคติต่อเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคคลทั่วไปที่มีข้อมูลเครดิตบูโร จำนวน 400 คน โดยการวิจัยนี้ได้ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา ผสมผสานกับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยแบ่งออกเป็นผู้ที่มีประวัติเครดิตบูโรในระดับความเสี่ยงสูงกว่าหรือเท่ากับระดับความเสี่ยง CC จำนวน 250 คน (ร้อยละ 62.5 ของตัวอย่างทั้งหมด) และ ผู้ที่มีประวัติเครดิตบูโรต่ำกว่าหรือเท่ากับระดับความเสี่ยง DD จำนวน 150 คน (ร้อนละ 37.5 ของตัวอย่างทั้งหมด) การวิจัยในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Logistic regression ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ตัวแปรข้อมูลทั่วไปได้แก่ ประเภทที่อยู่อาศัย สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์และบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ใหม่ โดยประเภทที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาและคอนโดจะส่งผลให้คะแนนการพิจารณาให้สินเชื่อลดลง 1.427 และ 1.311 เมื่อเทียบกับตัวแปร reference ประเภทที่อยู่อาศัยแบบบ้านที่เป็น 0 อย่างมีนัยสำคัญ สถานภาพแต่งงานแล้วมีผลให้คะแนนการพิจารณาสินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.663 เมื่อเทียบกับตัวแปร reference สถานภาพโสดที่เป็น 0 อย่างมีนัยสำคัญ อาชีพธุรกิจส่วนตัวส่งผลให้คะแนนการพิจารณาสินเชื่อลดลง 1.822 เมื่อเทียบกับตัวแปร reference อาชีพข้าราชการที่เป็น 0 อย่างมีนัยสำคัญ และรายได้ต่อเดือนสูงมีผลดีต่อการพิจารณาให้สินเชื่อตามค่าเบต้าที่เป็นบวกในสมการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to identify variables affecting credit analysis for use in the development of Peet to peer lending platform based on alternative data (personality test and Money Scripts. The samples group of this research is 400 people selected through Quota sampling and convenience sampling which separated into 250 people with credit bureau histories at or equal to the CC risk level (62.5 percent of the sample) and those with credit bureau histories lower than or equal to the DD risk level 150 people (37.5 percent of the total sample) In this study, the data was analyzed by logistic regression method. The result of this research were as follows: housing type, status, occupation, monthly income status, and personality variables from the Big Five; neuroticism and openness to experience.Townhouses and condos resulted in a significant decrease in credit scoring of 1.427 and 1.311 compared to home housing. Married status resulted in a significant increase in credit scoring of 0.663 compared to the single status. The self-employed occupation resulted in a significant decrease in credit scoring of 1.822 compared to the reference variable of civil servant. High monthly income has a positive effect on beta-based lending considerations in the equation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.638-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแพลตฟอร์มการกู้ยืมระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์จากข้อมูลทางเลือกแบบทดสอบบุคลิกภาพและแบบประเมินเจตคติต่อเงิน-
dc.title.alternativePeer to peer lending platform from alternative data (personality test and Money Script)-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.638-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380175520.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.