Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80240
Title: นวัตกรรมวงดนตรีอังกะลุงอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างกิจกรรมดนตรีนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ
Other Titles: Angklung smart band innovation to support music activities for elderly in aged care facilities.
Authors: สรัญญา หิรัญปัณฑาพร
Advisors: นกุล คูหะโรจนานนท์
พรประพิตร์ เผ่าสวัสด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ออกแบบ พัฒนา และทดสอบนวัตกรรมวงดนตรีอังกะลุงอัจฉริยโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการจัดกิจกรรมดนตรีวงอังกะลุงสำหรับผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดกิจกรรมดนตรีวงอังกะลุงผู้สูงอายุ 2 ท่าน พบว่า ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ทางด้านดนตรีอย่างมากในการจัดกิจกรรมด้วยรูปแบบการใช้สัญลักษณ์มือ ทำให้เกิดความขาดแคลนบุคคลากรในด้านดังกล่าว ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของการทำกิจกรรมดนตรีวงอังกะลุงกับผู้สูงอายุด้วยรูปแบบการใช้สัญลักษณ์มือ พบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ควบคุมวง ผู้สูงอายุ เครื่องดนตรีอังกะลุง โน้ตเพลง และเพลงบรรเลงประกอบ  ซึ่งนำไปสู่การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม หลังจากทำการทดสอบและปรับปรุงนวัตกรรมตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเบื้องต้น เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติจากการทดสอบนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญในสถานดูแลผู้สูงอายุ  สรุปได้ว่า การทำกิจกรรมดนตรีด้วยนวัตกรรมวงดนตรีอังกะลุงอัจฉริยะสามารถทำให้ผู้สูงอายุเขย่าอังกะลุงได้ถูกต้องไม่แตกต่างจากการทำกิจกรรมด้วยรูปแบบการใช้สัญลักษณ์มือที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า นวัตกรรมนี้สามารถเสริมสร้างและช่วยลดภาระของผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรมดนตรีวงอังกะลุงสำหรับผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุได้  แม้ว่าผู้สูงอายุยังคงต้องการการพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ควบคุมวงอยู่ การศึกษาการยอมรับนวัตกรรมวงดนตรีอังกะลุงอัจฉริยะจากการเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 18 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นต่อการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอยู่ในระดับ “เห็นด้วย"
Other Abstract: This research aims to study the feasibility, design, development, and testing of the Angklung Smart Band innovation to support music activities for the elderly in aged care facilities, including the innovation acceptance and its commercialization potential.  According to an interview with two angklung music experts, conducting music activities using hand signs nowadays requires a wide range of  musical knowledge and expertise, resulting in a shortage of angklung music experts. The conductor, elders, the angklung instrument, sheet music, and background music are the five components of music activities that are used in the design and development of this innovation.  Following preliminary study, experts conducted music activities with the Angklung Smart Band at a nursing home after testing and improving the innovation with expert advice. Data analysis revealed no difference in correctly angklung shaking percentage between performing music activities using hand signs and the Angklung Smart Band at the statistical significance level of 0.05. Experts commented that this innovation has the potential to reinforce and reduce the burden of specialists in organizing Angklung music activities for the elderly. Although the elderly still wanted to talk and interact with the conductor. The research on innovation acceptance indicated that the attitudes of 18 respondents on technology adoption were "Agree."
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80240
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.641
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380181220.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.