Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอติวงศ์ สุชาโต-
dc.contributor.advisorโปรดปราน บุณยพุกกณะ-
dc.contributor.authorปณิดา วิริยะชัยพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-02T09:44:13Z-
dc.date.available2022-11-02T09:44:13Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractระบบสำหรับการฝึกฝนแบบปรับเหมาะ (adaptive practicing) สามารถส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบนี้อยู่บ้าง แต่การสร้างระบบนี้ยังคงมีความซับซ้อนแม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยเหลือก็ตาม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กสำหรับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้ พร้อมด้วยส่วนประเมินตัวสร้างคำถาม โดยใช้ระบบการจัดอันดับของ Elo โดยเฟรมเวิร์กนี้สามารถนำตัวสร้างคำถามมาสร้างเป็นระบบสำหรับการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้อย่างง่ายดายในรูปแบบบริการเอพีไอ (Application Programming Interface; API) บนเว็บไซต์ ซึ่งในเฟรมเวิร์กนี้ประกอบไปด้วย 4 โมเดล ได้แก่ ตัวชี้วัดการเรียนรู้ ผู้เรียน โจทย์คำถาม และบทคำสั่ง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย 7 มอดูล ได้แก่ ส่วนเลือกโจทย์คำถาม ส่วนสร้างโจทย์คำถาม ส่วนคำนวณความแตกต่างระหว่างคำถาม ส่วนแสดงผลโจทย์คำถาม ส่วนตรวจสอบคำตอบ ส่วนแสดงผลย้อนกลับ (feedback) และส่วนปรับโจทย์คำถามให้เป็นปัจจุบัน การแยกส่วนสร้างโจทย์คำถามออกมานั้น ส่งผลให้เฟรมเวิร์กรองรับคำถามสำหรับหลายหัวข้อ อาทิ คำถามวิชาภาษาไทย คำถามวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ส่วนสร้างโจทย์คำถามยังทำให้ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้ มีทรัพยากรโจทย์คำถามที่ไม่จำกัด และขยายฐานข้อมูลโจทย์คำถามได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งเฟรมเวิร์กนี้ยังรองรับคำถามได้หลากหลายประเภทที่สามารถประเมินผลเป็นถูกและผิด อาทิ คำถามปรนัย คำถามเลือกจับคู่ เนื่องจากการออกแบบให้ส่วนแสดงผลโจทย์คำถามเป็นส่วนที่สามารถปรับแต่งได้ เฟรมเวิร์กนี้รองรับการออกรายงานทั้งหมด 5 ประเภทเพื่อใช้วิเคราะห์ทั้งในฝั่งผู้เรียนและฝั่งของระบบ ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้ถูกออกแบบให้เป็นเอพีไอจึงทำให้สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ได้ง่าย นอกจากนี้ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้สามารถรองรับการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์สำหรับกลุ่มผู้เรียนทุกขนาด และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยความเร็วตามความสามารถของตนเอง และผู้สอนไม่จำเป็นต้องสร้างคำถามสำหรับป้อนเข้าในระบบ-
dc.description.abstractalternativeAlthough several tools for computerized adaptive practicing are available, implementing adaptive practicing with generators remains complex. This study proposes a framework for computerized adaptive practice (CAP) using the ELO rating system. The framework aims to help convert question generators to a CAP system as a web-service application programming interface, which can be easily integrated with applications. The framework comprises four models (indicator, learner, question instance, and script) and seven customizable modules (question instance selector, question instance generator, distance calculator, question display, answer checker, feedback display, and question instance updater). With the separated question instance generator module and question display module, the framework supports question domains (e.g., mathematics, science, and language) in any form; the question bank can be scaled automatically when there is no question that matches a learner’s preference. This feature fills the gap in the literature regarding the existing tools, where educators are required to devise questions, leading to difficulty in scaling for various sizes of learner groups. Five types of reports can be used for analytics. An adaptive practicing system can support online and offline classrooms of any size. Moreover, learners can practice at their pace; educators are not required to handcraft questions for the system.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.954-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationComputer Science-
dc.titleซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กสำหรับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้ พร้อมด้วยส่วนประเมินตัวสร้างคำถาม-
dc.title.alternativeSoftware framework for computerized adaptive practice with a question generator assessment-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมคอมพิวเตอร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.954-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170205621.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.