Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80985
Title: | สวัสดิการทางเศรษฐกิจและผลกระทบภายนอกของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ |
Other Titles: | Economic welfare and externality effects of state welfare card policy |
Authors: | ณิชนันทน์ ขันกสิกรรม |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้ว่า สัดส่วนของผู้รับผลประโยชน์ของนโยบายนี้ (ผู้ถือบัตร) เป็นคนไม่จนเกือบร้อยละ 90 ของผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมด สะท้อนว่า นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีความคลาดเคลื่อนในการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายจริง คือ คนจนไม่จริงได้รับประโยชน์ ในขณะที่คนจนจริงกลับไม่ได้รับประโยชน์ รวมถึง ยังไม่มีการติดตามและประเมินผลของนโยบายเชิงลึกในแง่ของพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่กำกับการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น และห้ามใช้จ่ายเพื่อบริโภคสินค้าให้โทษหรือสินค้าฟุ่มเฟือย การศึกษานี้จึงศึกษามาตรการการแจกเงินภายใต้นโยบายดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคและคำนวณสวัสดิการเศรษฐกิจของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงศึกษาสวัสดิการเศรษฐกิจกรณีดำเนินนโยบายแบบจำกัดการบริโภคสินค้าให้โทษเทียบกับต้นทุนด้านสุขภาพจากการบริโภคสินค้าให้โทษ ผ่านแบบจำลอง LES (Linear Expenditure System) โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ทั่วราชอาณาจักร จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้บริโภคสินค้าให้โทษจากข้อมูลการสำรวจภาคสนาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาชี้ว่า นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเพิ่มสวัสดิการเศรษฐกิจสูงขึ้น เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือผ่านบัตร การบริโภคจึงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขจำกัดการบริโภคสินค้าให้โทษทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของผู้ถือบัตรสูญหายไปบางส่วน ซึ่งชดเชยได้ด้วยความสูญเสียทางสุขภาพที่ลดลง แม้โดยรวม ความสูญเสียทางสุขภาพที่ลดลง (275.01 ล้านบาทต่อปี) มีมูลค่าน้อยกว่าสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่สูญหาย (389.38 ล้านบาทต่อปี) แต่มูลค่าสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่สูญหายของกลุ่มบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ (40.52 ล้านบาทต่อปี) น้อยกว่าความสูญเสียทางสุขภาพที่ลดลง (58.38 ล้านบาทต่อปี) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้บริโภคสินค้าให้โทษทั้ง 2 ประเภทที่ถือบัตรมีพฤติกรรมสลับกระเป๋าเงินอย่างชัดเจน คือ บริโภคทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้น แสดงว่า การจำกัดการบริโภคสินค้าให้โทษมิอาจควบคุมการบริโภคสินค้าให้โทษได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่เสพติดสินค้าให้โทษ หรือบริโภคสินค้าให้โทษเป็นประจำ |
Other Abstract: | According to the National Economics and Social Development Board (NESDB), 90 percent of all beneficiaries (card takers) are not poor. This demonstrates that the policy has some flaws in its targeting of specific populations. There are Inclusion Errors and Exclusion Errors. Also, there was no in-depth monitoring and evaluation of the policy in terms of consumer behavior, especially with the spending constraint condition. This thesis aims to study the measurement of giving money under the state welfare card policy and investigate the economic welfare of implementing a policy with constraints by alcohol beverage and tobacco consumption limitations compared to healthcare costs from consuming sin goods using data from the National Statistical Office of Thailand's SES 2019. Furthermore, using data from a field survey and descriptive statistics, this study will examine the behavior of sin goods consumers who use state welfare cards. The findings suggested that the state welfare card contributes to increased economic well-being. Consumption has grown because cardholders got subsidies through the card. However, some conditions that limit access to sin goods have resulted in some users having their economic welfare loss, which can be compensated by healthcare costs loss. Even if the total healthcare cost loss (275.01 million baht per year) is less than the economic welfare loss (389.38 million baht per year), the value of the Tobacco Consumer's economic welfare loss (40.52 million baht per year) is still less than the healthcare cost loss (58.38 million baht per year). Moreover, the result revealed that drinkers and smokers have a behavior of swapping their wallets. They would transfer money to consume more. This demonstrates that the consumption restriction cannot truly control the consumption of sin goods, particularly among consumers who are hooked to the goods or who use the goods regularly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80985 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.472 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.472 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6185157729.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.