Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81517
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ | - |
dc.contributor.author | นวัตธนิน ทศานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-03T04:00:28Z | - |
dc.date.available | 2023-02-03T04:00:28Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81517 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการกำหนดนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบในการสนับสนุนต่อการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจออนไลน์ขายของตกแต่งบ้านที่ทำจากหินอ่อนเป็นกรณีศึกษา เพื่อรักษาระดับการให้บริการที่ทำให้ไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการออกแบบนโยบายสั่งซื้อ สำหรับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขายจะมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองที่มีการกำหนดระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน และมีการพิจารณารอบการสั่งและทบทวนสินค้าโดยมีการจำลองข้อมูลปริมาณความต้องการของปี พ.ศ.2563 และทำการรวมข้อมูลปริมาณต้องการตามรอบการทบทวน ให้ได้ข้อมูลที่มากพอที่สามารถสรุปการแจกแจงปกติ แล้วทำการตัดสินใจเลือกรอบที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการ สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีปัจจัยในช่วงที่มีงานแสดงสินค้าส่งผลต่อยอดขายจะทำการแยกปริมาณความต้องการของสินค้าที่มียอดขายในช่วงงานแสดงสินค้า เพื่อหานโยบายการสั่งซื้อในลักษณะเดียวกับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย แต่ในช่วงที่มีการจัดงานแสดงสินค้าไม่สามารถที่จะเติมสินค้าเข้ามาในคลังได้ทันเวลา จึงเป็นนโยบายการสั่งเติมสินค้าเป็นสั่งครั้งเดียว ขั้นตอนถัดมาทำการเลือกนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมจากการจำลองสถานการณ์ โดยจะทำการสั่งซื้อเมื่อระดับคงคลังต่ำกว่าระดับคงคลังเป้าหมาย หรือระดับ OUL (Order-up-to Level) สำหรับรายการสินค้าที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย โดยพิจารณาด้วยปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่เหมาะสมกับรายการสินค้าแต่ละชนิด ที่ไม่ทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ย (Average Ending Inventory) สูง และไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย ในสำหรับรายการสินค้าที่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายนั้น เมื่อได้นโยบายสำหรับสินค้าแต่ละชนิด จะทำการสั่งเติมในปริมาณสูงสุด และในขั้นตอนสุดท้ายทำการวิเคราะห์ความคงทนของนโยบายสั่งซื้อที่เลือกเพื่อตรวจสอบอัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่า จากเดิมสำหรับระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการ (Cycle service level) 99.90% นั้น ในบางรายการจะทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ยสูงเกินไป เมื่อมีการลดระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่ลดลงสำหรับสินค้าแต่ละรายการพบว่า เมื่อมีการสั่งในระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บได้ และในส่วนทดสอบประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้วยการจำลองสถานการณ์ พบว่า อัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง มีการรองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 10% โดยเฉลี่ย ซึ่งอยู่ในระดับการให้บริการ 100% ทุกรายการ แต่เมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 20% และ 40% โดยเฉลี่ย จะไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการสำหรับสินค้าบางรายการ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย ในส่วนของปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึงเมษายน ปี พ.ศ. 2564 ได้ 100% ทุกรายการ | - |
dc.description.abstractalternative | This research proposes a method of determining an order policy that is suitable at different times and a method of enhancing the support system for inventory management of the study case - which is an online business selling home decor items made from marble - with an aim to maintain the service level in a way that will not affect business opportunities. Relevant data were collected and examined, and then the order policy was designed. As for items marketed during periods of no events, the model with fixed-time order policy was employed while inventory review was conducted and ordering points were analyzed based on the estimated demand data from the year 2020. The demand data from each inventory review cycle was compared to establish a normal distribution and to identify optimal cycles for each of the items. As for items marketed during events such as exhibitions that affect sales performance, the demand data for each of the items were analyzed to identify the order policy using the same method with the previous group. During exhibitions, however, the inventory was not replenished in a timely manner, and one-time buy policy was employed. Then, the optimal order policy was identified using simulations. An order was made whenever the order-up-to level (OUL) was reached for items without factors that affect sales performance. At this stage, the target stock levels that were able to maintain target service levels of each item in a way that would not result in high average ending inventory or loss of selling opportunity were calculated. As for each of the items with factors that affect sales performance, when the order policy was successfully identified, the inventory would be replenished with a maximum quantity. Then, the applicability of the selected policy was tested to examine fill rates and service levels. Results show that at the cycle service level of 99.90%, the average ending inventory was overly high for some items, and with certain decreases in fill rates and the average ending inventory of each item, the inventory costs were cut down. In terms of efficiency and applicability of the policy, analyses from simulations show that fill rates and cycle service levels (CSL) were able to accommodate, on average, an increase by 10% in demand while maintaining 100% service level for all items. When the numbers reached 20% and 40% on average, however, the policy failed to accommodate the demand for certain items - which is an undesirable situation, given that actual demand between January and April 2021 was 100% for all the items. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1187 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | ระบบสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ | - |
dc.title.alternative | Inventory management support system for home decor online-business | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1187 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6170198921.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.