Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81746
Title: Study of aerotolerant Campylobacter Jejuni in broiler production process
Other Titles: การศึกษา แคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ชนิดทนต่อออกซิเจนในกระบวนการผลิตเนื้อไก่
Authors: Nichanan Jarusirivait
Advisors: Taradon Luangtongkum
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Issue Date: 2021
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Campylobacter jejuni is the leading cause of human gastroenteritis worldwide. Although they are microaerophile and sensitive to oxygen, aerotolerant C. jejuni has been reported in many countries. Currently, limited information on aerotolerant C. jejuni in Thailand has been reported. Therefore, the objectives of this study were 1) to examine the occurrence of aerotolerant C. jejuni in farms, slaughterhouses and retail markets and compare the level of aerotolerant strain between different sample types at the farm (i.e., cloacal swabs VS manures) and slaughterhouse level (i.e., cecal contents VS carcass rinses) and 2) to identify common genotypes of aerotolerant and aerosensitive C. jejuni strains in each poultry production stage. A total of 275 C. jejuni strains isolated from cloacal swabs, manures, cecal contents, carcass rinses and raw chicken products were tested for aerotolerance by aerobic shaking at 150 rpm under aerobic condition at 42°C for 24 hours. Representatives of C. jejuni isolates were primarily genotyped by flaA SVR sequencing technique and further subtyped by MLST. The highest number of aerotolerant C. jejuni isolates were found at the slaughterhouse stage (56.0%), followed by the retail market stage (51.0%) and the farm stage (41.3%). The level of aerotolerant C. jejuni strain between different sample types at the farm and slaughterhouse level were not significantly different. Hyper-aerotolerant strain was not detected in this study as no bacterial strains survived 24 h of aerobic shaking. The longest viability of C. jejuni strains under aerobic culture was 18 h with the viable counts of 2.59 log CFU/ml, 3.53 log CFU/ml and 3.06 log CFU/ml at the farms, slaughterhouses and retail markets, respectively. Forty-one flaA SVR allele types and 17 sequence types (STs) were identified among aerotolerant and aerosensitive C. jejuni strains. The predominant allele types in aerosensitive and aerotolerant strains was flaA SVR allele number 142 and 783, respectively. Mostly, genetic similarity was found in isolates from farms and slaughterhouses. For MLST, the results revealed that the most frequently detected ST in aerosensitive strains was ST-460, while ST-1232 was predominant in aerotolerant strains. The main clonal complexes (CCs) observed in this study were CC- 353, followed by CC-45. Most of the STs (e.g., ST-1075 and 1232) found in this study were previously identified in chickens and gastroenteritis patients in Thailand, which highlight the significance of broilers as one of the most important sources of human campylobacteriosis. Our findings suggested that the reduction of Campylobacter contamination in the final products by implementation of good hygienic practices and strict biosecurity in poultry production steps is essential and would help decrease the transmission of Campylobacter to human, which eventually reduce the number of foodborne campylobacteriosis cases.  
Other Abstract: แคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน เป็นแบคทีเรียที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบในคนทั่วโลก แม้ว่า แคมไพโลแบคเตอร์ จะเป็นแบคทีเรียที่อาศัยออกซิเจนในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อการเจริญและมีความไวต่อการสัมผัสกับออกซิเจน แต่ก็มีการ รายงานการพบแคมไพโลแบคเตอร์ชนิดทนต่อออกซิเจนในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับแคมไพโลแบคเตอร์ชนิดทนต่อออกซิเจน  ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ชนิดทนต่อ ออกซิเจนในฟาร์ม โรงเชือด และซูเปอร์มาเก็ต และเปรียบเทียบความชุกของแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ชนิดทนต่อออกซิเจนระหว่างตัวอย่าง จากฟาร์ม ได้แก่ อุจจาระจากทวารร่วมและมูลไก่ และตัวอย่างจากโรงเชือด ได้แก่ อุจจาระจากลำไส้ใหญ่และน้ำล้างซาก และ 2) เพื่อวิเคราะห์ ลักษณะทางพันธุกรรมของแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่แยกได้จากแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิตเนื้อไก่  ในการศึกษานี้ แคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน จำนวน 275 ไอโซเลตที่แยกได้จากตัวอย่างชนิดต่างๆ ถูกนำมาทดสอบความทนต่อออกซิเจน โดยการ เพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลวด้วยการสั่นที่ความเร็ว 150 รอบต่อนาที ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน ที่ 42 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นอกจากนี้แคมไพโลแบคเตอร์ เจเจูไน ที่พบยังถูกนำไปวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมเบื้องต้นด้วยวิธี flaA SVR sequencing technique และวิธี MLST จากการศึกษาพบว่า ไอโซเลตที่แยกได้จากตัวอย่างที่โรงเชือดมีสัดส่วนของแคมไพโลแบคเตอร์ เจเจูไน ที่ทนต่อออกซิเจนสูงที่สุด (56.0%) ตามด้วยไอโซเลตจากตัวอย่างที่ซูเปอร์มาเก็ต (51.0%) และไอโซเลตจากตัวอย่างที่ฟาร์ม (41.3%)   ในการเปรียบเทียบสัดส่วนของแคมไพโลแบคเตอร์ เจเจูไน ชนิดทนต่อออกซิเจนระหว่างตัวอย่างอุจจาระจากทวารร่วมและมูลไก่ และ ระหว่าง ตัวอย่างน้ำล้างซากกับอุจจาระจากลำไส้ใหญ่ ของการศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบแคมไพโลแบคเตอร์ เจเจูไน ชนิดทนต่ออากาศเป็นพิเศษ (hyper-aerotolerant strain) เนื่องจากไม่มีไอโซเลตที่สามารถทนต่อการทดสอบได้นานถึง 24 ชั่วโมง โดยการศึกษา ครั้งนี้พบว่าแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน สามารถทนต่อออกซิเจนได้นานสูงสุด 18 ชั่วโมง ซึ่งที่ระยะเวลาดังกล่าวมีความเข้มข้นของเชื้อเท่ากับ 2.59 log CFU/ml, 3.53 log CFU/ml และ 3.06 log CFU/ml ในไอโซเลตจากฟาร์ม โรงเชือด และซูเปอร์มาร์เก็ต ตามลำดับ การศึกษาลักษณะ ทางพันธุกรรมสามารถระบุเชื้อที่ทนและไม่ทนต่อออกซิเจนด้วยวิธี flaA SVR allele type ได้ทั้งหมด 41 แบบ และด้วยวิธี MLST 17 แบบ โดย allele type หลักที่พบในเชื้อชนิดที่ไม่ทนและทนต่อออกซิเจน คือ flaA SVR allele type 142 และ 783 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ลักษณะทางพันธุกรรม ที่พบในฟาร์มและโรงเชือดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผล MLST พบว่า sequence type 460 พบในเชื้อชนิดที่ไม่ทนต่ออากาศเป็นหลัก ในขณะที่ sequence type 1232 พบในเชื้อชนิดที่ทนต่ออากาศเป็นหลัก ในการศึกษานี้ clonal complexes ที่พบมากที่สุด ได้แก่ CC-353 รองลงมาคือ CC-45 โดยส่วนใหญ่ sequence types ที่พบในการศึกษาครั้งนี้ (เช่น ST-1075 และ ST-1232) เคยพบในไก่และผู้ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบของ ประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญในการก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบในคน และชี้ให้ เห็นถึงความสำคัญของการลดการปนเปื้อนของแคมไพโลแบคเตอร์์ในเนื้อไก่ โดยการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยและความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดการถ่ายทอดเชื้อมาสู่คนและส่งผลให้สามารถลดจำนวนของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากแคมไพโลแบคเตอร์ได้ในที่สุด
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2021
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Veterinary Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81746
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.407
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.407
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6075323831.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.