Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81893
Title: การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของธุรกิจนวด
Other Titles: Using design thinking to develop mobile application of massage business
Authors: พรธานินทร์ พรพิชณรงค์
Advisors: อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันกระแสรักสุขภาพยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หลายคนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และเปิดธุรกิจเพื่อตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพ ในความเป็นจริงเทรนด์สุขภาพไม่ได้มีเฉพาะ อาหาร ยา หรือความงามเท่านั้น แต่มีศาสตร์แห่งการบำบัดร่วมด้วย เป็นการบำบัดรักษาสุขภาพหรือฟื้นฟูจากอาการ เช่น สปาและนวดผ่อนคลาย เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้นด้วยสถานที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีอาการปวดเมื่อย และกลายเป็นอาการออฟฟิศซินโดรมในที่สุด ทำให้การนวดเป็นที่นิยมในหมู่พนักงานออฟฟิศเป็นอย่างมาก ประกอบกับในปัจจุบันสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นวงกว้างมากขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้วิธีการค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการค้นหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจสปาและนวด แต่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมของธุรกิจนวดโดยเฉพาะ และไม่สามารถเข้าถึงการจองนวดในร้านที่ต้องการได้อย่างครบวงจรเหมือนการจองโรงแรม หรือตั๋วเครื่องบิน ดังนั้นจึงนำหลักการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการจัดทำระบบที่สามารถเป็นศูนย์กลางของธุรกิจนวด เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการร้านนวดและเจ้าของธุรกิจนวดได้ ระบบต้นแบบของโครงการนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล และสะดวกในการจองบริการ ทางด้านเจ้าของธุรกิจนวดสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Recently, health conscious has been continuously popular. Massage business become flourishing in health industry. In fact, health conscious is also includes Art of Therapy. The Art of Therapy, also known as Spa and Massage, is a treatment for health or recovery from symptoms. Due to the Covid-19 situation, most people work remotely from home. While working from home, an inappropriate workplace causes pain and become office syndrome symptoms. This led to high demand for the massage and spa business. Furthermore, social media take part in daily life widely. Most people usually search for massage information and reviews from the internet. However, there is no specific information sources of massage business and people are unable to reach massage services reservation practically compare to hotel and flight booking.  Therefore, design thinking was applied to provide system that centralize massage business for the benefit of both customers and business owners. The prototype provides customer's convenience. Similarly, business owners can run their business more efficiently, and becomes widely known.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81893
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.96
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.96
Type: Independent Study
Appears in Collections:Acctn - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6382127426.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.