Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81900
Title: | การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของคลินิกผิวหนังและความงาม |
Other Titles: | Using design thinking to develop mobile application of dermatology and aesthetic clinic |
Authors: | ลักษิกา ชูสุวรรณ |
Advisors: | พิมพ์มณี รัตนวิชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันความสวยความงามเป็นอีกหนึ่งความต้องการที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งบุคคลที่มีอายุมากหรือน้อย ฐานะรวยหรือจน ต่างก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสวยความงามไม่น้อยไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน้าตา รูปร่าง ผิวพรรณ การเปลี่ยนรูปหน้าให้ดูดีขึ้น เพราะในสมัยนี้รูปลักษณ์ภายนอกมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นอย่างมาก จึงทำให้ธุรกิจคลินิกผิวหนังและความงามเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้คลินิกผิวหนังและความงามที่ให้บริการในรูปแบบ Offline เพียงอย่างเดียวนั้น ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง ดังนั้นหลายคลินิกจึงเริ่มให้บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อให้ลูกค้าได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพผิวที่เป็นกังวลได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่คลินิก แต่ในปัจจุบันแอปพลิเคชันสำหรับคลินิกผิวหนังและความงามที่ให้บริการโทรเวชกรรม ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการนำความคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันจะทำให้คลินิกผิวหนังและความงามสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการใช้บริการ และมีช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กบคลินิกที่มากยิ่งขึ้น ระบบต้นแบบของโครงการนี้ที่ถูกสร้างด้วยแอปพลิเคชัน "Figma" ซึ่งจะช่วยให้คลินิกผิวหนังและความงามสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | Nowadays, beauty is one of the needs that everyone pays attention to. Those who are old or young, wealthy, or poor are all concerned about the beauty of their faces, shapes and skin. Some of them change their face shapes to look better. Since physical appearance plays a great influence on people’s daily lives, the dermatology and aesthetic clinic industries are expanding rapidly. As a result, the entrepreneurs in such businesses must face more fierce competition. However, the COVID-19 epidemic has changed customer behaviour. Most dermatology and aesthetic clinics which conventionally offer offline services have been affected by the outbreak resulting in decreasing revenues. Therefore, several clinics have begun to provide telemedicine services so that customers can speak with a doctor about their skin issues without having to come to the clinic. At present, telemedicine applications for dermatology and aesthetic clinics, however, are unable to effectively serve the demands of customers and clinics. As a result, applying ‘Design Thinking’ to create mobile applications will enable dermatology and aesthetic clinics' services to be more convenient for the customers to use and give them access to more revenue-generating opportunities. The "Figma" application is used to construct the prototype system for this project, which would make it more convenient and efficient for dermatology and aesthetic clinics to serve their customers' needs. |
Description: | สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81900 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.105 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.105 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Acctn - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6382153726.pdf | 9.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.