Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8196
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ | - |
dc.contributor.author | สุธิดา ภักดีบุญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-10-01T08:07:15Z | - |
dc.date.available | 2008-10-01T08:07:15Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741424582 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8196 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ 2) ศึกษากระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 4) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ใช้วิธีวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุเทศะกรณีศึกษา 3 โรงเรียนใน 3 พื้นที่ คือ โรงเรียนปัญญาวุธ จังหวัดพัทลุง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกรณีศึกษาทั้ง 3 โรงเรียน มีลักษณะดังนี้ 1.1 การวางแผนการดำเนินงาน มีการรับทราบนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการ และกำหนดโครงสร้างการทำงานที่เป็นระบบ 1.2 การดำเนินการตามแผนมีการวิเคราะห์ปัญหาและความพร้อมของโรงเรียน การให้ความรู้แก่บุคลากรโดยการประชุม อบรม สัมมนา การคัดเลือกกิจกรรมในโครงการดำเนินการโดยการประชุมบุคลากร โรงเรียนปัญญาวุธมีโครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ ภูเก็ต มีโครงการต้นส้มแสนรัก ซึ่งทั้งสองโรงเรียนมีการจัดแบ่งนักเรียนหนึ่งห้องออกเป็นสองกลุ่มย่อยและมีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน แต่ละท่านดูแลนักเรียนไม่เกิน 25 คน ส่วนโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคมมีโครงการครอบครัวมีลูกสองโหล โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคมแบ่งการดูแลเป็นระบบครอบครัวประกอบด้วยนักเรียน ม.1-ม.6 คละหญิงชาย ไม่เกิน 24 คน ต่ออาจารย์หัวหน้าครอบครัว 1 ท่าน 1.3 การตรวจสอบและประเมินผล มีการติดตาม ประเมินผลจาก 2 ส่วน คือ บุคลากรจากฝ่ายบริหารและทีมประเมินในโรงเรียนและจากหน่วยงานภายนอก มีการประเมินความสำเร็จจากการดำเนินงานจากฝ่ายบริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง 1.4 การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานทุกภาคการศึกษาเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานต่อไปอย่างสม่ำเสมอ 2. กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมี 5 ขั้นตอน คือ 2.1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยใช้ระเบียนสะสม การเยี่ยมบ้าน 2.2) การคัดกรองนักเรียนแบ่งออกเป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา 2.3) การส่งเสริมและพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถของนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดประชุมผู้ปกครอง และกิจกรรมที่แต่ละโรงเรียนจัด 2.4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ทั้ง 3 โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เหมือนกัน ได้แก่ การให้คำปรึกษาเบื้องต้น กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน การติดตามดูแลช่วยเหลือ 2.5) การส่งต่อมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การส่งต่อภายในโรงเรียน และ ส่งต่อไปยังหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือนักเรียนต่อไป 3. ปัจจัยสนับสนุนร่วมในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสนับสนุนจากบุคลากรฝ่ายบริหาร ความร่วมมือและความเสียสละของครูอาจารย์ ความร่วมมือจากผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง 4. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคร่วมในการดำเนินงาน ประกอบด้วย ภาระงานที่เพิ่มขึ้นของครูอาจารย์ นักเรียนขาดความร่วมมือ และขาดความตระหนักถึงความสำคัญในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5. แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานร่วมกัน คือ การสร้างความตระหนักให้อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและมีทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินงาน | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to 1) study the state of student caring and supporting operation system in success schools 2) study the student caring process 3) study supportive and obstacle factors in operating system in schools. 4) study the problem solutions in operation system, employing qualitative research as a multi-site case study for three schools in three sites consisted of Panyawut School;Pattalung, Chalealmprakieat Somdetprasinakarin Phuket; Phuket and Promkeereepityakom School;Nakornsrithammrach. The research data were collected by analyzing related documents, employing participatory and non participatory observations as well as interview and focus group technique. The research data were analyzed by employing content analysis and inductive conclusion. The research results were summarized as follows: 1. The operation system of student caring and supporting of three case studies is 1.1 The operation planning had been prepared the operation and received the policy from the Ministry of education and had a systematic organization structure. 1.2 The school operation had analyzed the problem and the readiness of schools, transmitted knowledge to teacher by meeting, seminars, selected the activities in project by meeting. Panyawut school had "good system good quality", Chalealmprakieat had "Ton som san ruk", both of these schools separate two group of students in one class and had two advisors to look after them, Promkeereepityakom had "Krob krua mee look song loa" these project used the way of taking care in the family. One family mixed between boys and girls and the different level. 1.3 Evaluating results of three case studies were consisted of two parts; from school administrators and evaluators and from external organization. 1.4 Developing the project, the schools had a meeting every semester and conclude of the problem to develop and made the better project. 2. Student caring process had five steps 2.1) Getting to know individual student 2.2) Grouping three students; normal group, risk group and problem group 2.3) Supporting each student's learning by activities that can developed their ability 2.4) Solving and helping; three case studies had the same basic activity such as consulting activities 2.5) Sending students were consisted of two characters ; internal and external school. 3. The similar supportive factors were supporting from administer, teacher's cooperative and sacrifice, cooperative of guardians, guardians's network, communities and supporting from related organization. 4. The similar obstacle factors such as over teacher's work load, lack of concentrate and realize for this project from students. 5. The similar ways to solve all of the problem were advisor's awareness in the project and having positive attitude in their works. | en |
dc.format.extent | 3058908 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นักเรียน -- การให้คำปรึกษา | en |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน | en |
dc.title | การวิจัยพหุเทศะกรณีศึกษาของระบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา | en |
dc.title.alternative | A multi-site case research study of student caring and supporting operation systems in schools | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Duangkamol.t@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sutida.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.