Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82319
Title: การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ
Other Titles: The creation of a dance from Borobudur’s architectural design
Authors: ธิติมา อ่องทอง
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการสร้างสรรค์และแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การศึกษาสื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา ประสบการณ์ของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธเป็นผลงานในรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ สามารถแบ่งตามองค์ประกอบการแสดง 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 กามภูมิ องก์ 2 รูปภูมิ และองก์ 3 อรูปภูมิ 2) การคัดเลือกนักแสดง คัดเลือกจากนักแสดงที่มีทักษะและประสบการณ์การเต้นที่หลากหลาย ได้แก่ นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์อินโดนีเซีย และทักษะในการแสดงออกทางด้านละคร 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ ใช้ทักษะการเต้นที่หลากหลายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ คือ ลีลานาฏยศิลป์ตะวันตกและลีลานาฏยศิลป์ตะวันออก 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแต่งกายในบทบาทนักท่องเที่ยวที่ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย และการแต่งกายในการแสดงหลักที่ใช้เครื่องแต่งกายที่มีความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน สามารถสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบ สร้างสรรค์เพลงขึ้นใหม่ด้วยเสียงสังเคราะห์จากการเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีจากวงกาเมลัน เสียงสังเคราะห์จากเครื่องดนตรีสากล และเสียงจากเครื่องดนตรีตาราวังซาของประเทศอินโดนีเซีย 7) การออกแบบฉากและพื้นที่การแสดง ใช้ฉากโครงสร้างแผนผังบุโรพุทโธ และจัดแสดง ณ โรงละครแบล็ค บ๊อกซ์ เธียร์เตอร์ 8) การออกแบบแสง เพื่อสร้างมิติให้กับสัดส่วนของฉากประกอบการแสดง และส่งเสริมการสื่ออารมณ์ ลีลาท่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ แนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ ประกอบด้วยแนวคิด 6 ประการ คือ 1) แนวคิดจากภาพแผนผังทางสถาปัตยกรรมและปรัชญาทางศาสนาของมหาสถูป 2) แนวคิดทางทัศนศิลป์ 3) แนวคิดเรื่องความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) แนวคิดพื้นที่การแสดงในงานนาฏยศิลป์ 6) แนวคิดพหุวัฒนธรรม
Other Abstract: The research study entitled ‘the creation of a dance from Borobudur’s architecture design aims to investigate the creativity and the conceptual forms obtained after this process. It uses a mixed research methodology between qualitative research and creative research with the following resources: collects data from academic document, Interview, the study of information media, the survey, seminars, experience of the researcher, artistic criteria, and experimentation to create dance work. The results of the study indicated that the creation of a dance from Borobudur’s architecture design is considered as a work of postmodern dance that can be divided, according to the display elements, into eight elements as following: 1) the show, divided into 3 acts, Act 1, Kamabhumi, Act 2, Rupabhumi, and Act 3, Arupabhumi, 2) casting, selected from talented actors and various dance experiences, including contemporary dance, Thai dance, Indonesian dance, with the skills to express in the drama, 3) design of dance styles, used a variety of dance skills according to the modern dance concept: Western dance style and Eastern dance style, 4) the design of clothing, divided into two types: dressing in the role of tourists who use a variety of everyday clothing, and the costume of the main show that are simple according to the concept of postmodern art, 5) design of display equipment, used the equipment that can be found in everyday life and be able to convey the meaning directly, 6) design of music and sound effects, created new songs with synthesized sounds from the imitation of musical instruments from the Gamelan band, synthesized sounds from international instruments, and the sound of the Indonesian Tarawangsa instruments, 7) scene design and display area, used the scene of the structure of the Borobudur to map and display at the Black Box Theater, and 8) lighting design, aimed to create dimensions for the proportions of the scene and promote emotional communication, including the style of the actors' movements to be clearer. The concept behind this about the creation of dance from the architecture of the Great Borobudur consists of six concepts: 1) concepts from the architectural and religious philosophy images of the pagoda, 2) concepts in visual arts, 3) concepts of simplicity based on postmodern dance concepts, 4) concepts of symbolism in the creation of dance, 5) concept of performing space in dance work, and 6) multicultural concepts.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82319
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1352
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1352
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986818535.pdf14.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.