Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82342
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorณัฐนิช ธรณธรรมกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:43Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:43Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82342-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัย ได้ศึกษาสาเหตุและผลกระทบของการเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการทดลองและวิจัยสร้างสรรค์ผลงานการแสดงทางด้านศิลปะ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ได้มาจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบของภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 บทนำ องก์ที่ 2 สาเหตุของภาวะการเรียนรู้ถดถอย องก์ที่ 3 ผลกระทบของภาวะการเรียนรู้ถดถอย และองก์ที่ 4 บทสรุป 2) ลีลานาฏยศิลป์ มีการใช้ลีลานาฏยศิลป์ตะวันตกในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ นาฏยศิลป์รูปแบบบัลเลต์คลาสสิก นาฏยศิลป์รูปแบบแจ๊สสมัยใหม่ นาฏยศิลป์สมัยใหม่ นาฏยศิลป์ร่วมสมัย  นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ที่ใช้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน และการเคลื่อนไหวลีลาท่าทางแบบทำซ้ำ การด้นสดและการใช้ศิลปะการแสดง 3) คัดเลือกนักแสดง คัดเลือกจากทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ตะวันตก การด้นสดและศิลปะการละคร ประสบการณ์ของผู้แสดง และมีคุณลักษณะของผู้แสดงอันพึงประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเพศและรูปร่าง จำนวนทั้งสิ้น 7 คน 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งการคำนึงถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ เก้าอี้ สมุด ชั้นวางของ ขนม หมอน กระเป๋า 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ใช้เสียงระฆังโรงเรียน เสียงเข็มนาฬิกา เสียงข่าวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านการเรียนรู้ถดถอย และปัญหาทางด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเสียงดนตรีบรรเลง 6) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการออกแบบเครื่องแต่งกายตามบทบาทของตัวละคร โดยการเลือกใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันและเครื่องแบบนักเรียน 7) พื้นที่การแสดง ใช้พื้นที่ห้องสตูดิโอ ในการถ่ายทำการแสดง 8) แสง ใช้ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ในการออกแบบแสงที่สื่อถึงบรรยากาศและอารมณ์ของการแสดง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ โดยคำนึงถึงแนวคิดสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงแนวคิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย 2) การคำนึงถึงแนวคิดการสะท้อนปัญหาสังคมไทย 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงการสื่อสารกับผู้ชม และ 6) การคำนึงถึงทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ-
dc.description.abstractalternativeThis thesis, the researcher has studied the causes and effects of Learning Loss and collected the data to create the dances. By the objective of finding the forms and concepts after creating the dance from Learning Loss, Researcher used qualitative research and experiment and creative research in performing art which were applied as the research design by studying data from document researches interviews observations seminars medias artist benchmarks and researcher’s experience to be guideline for analyzing synthesizing and creating the dance works. The result of the research, this creative form is divided into 8 components as 1) the script is come from the study about the causes and effects from Learning Loss. The script divided 4 acts as act 1 Prologue act 2 the causes of Learning Loss act 3 the effects of Learning Loss and act 4 Epilogue 2) Choreography; using the western dances are Classical ballet Modern jazz dance Contemporary dance Post modern dance are Everyday movement Repetitive movement Improvisation and performing art 3) Casting; cast by the skill and ability in Western dance Improvisation and performing art, actors’ experience and the good actor’s attitudes without gender and shape amount 7 persons 4) Properties; use concept of symbolic to tell audience both direct and indirect  5) Sound and music; use school bell, clock tick sound, the news sound about the performing of learning loss and concerning education and instrumental music. 6) Costume; the costume design concept is up to the character role by choosing the daily clothes and student uniform. 7) Performing space; use the studio to perform 8) Light; use theory of fine arts to design the light that shows the atmosphere and mood of the performance. Besides, after created the dance, the researcher also think about 6 importance concepts are 1) the concept of Learning Loss; 2) the concept of reflection on Thai social problems; 3) the concept of creative of dance; 4) the concept of using symbolic in performing art; 5) the concept of the communication to the audience; 6) the concept of using theory of fine arts. All of these results are accorded and meet the purpose of the research in all respects.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.912-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.subject.classificationMusic and performing arts-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย-
dc.title.alternativeThe creation of a dance from learning loss-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.912-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6381018935.pdf14.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.