Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82578
Title: | บริษัทพัฒนาเมือง: รูปแบบองค์กรเอกชนกับการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ |
Other Titles: | City development company : the model of private organizations and participation in public policy formulation |
Authors: | ภูมิสันต์ เลิศรัตนนันท์ |
Advisors: | นวลน้อย ตรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ศึกษา “บริษัทพัฒนาเมือง” ในฐานะองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นมา และเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะของเมือง มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาแนวคิดและบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะของกลุ่มทุนในรูปแบบบริษัทพัฒนาเมือง และปฏิสัมพันธ์และกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะของกลุ่มทุนในรูปแบบบริษัทพัฒนาเมืองในจังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนบริษัทพัฒนาเมืองและนโยบายสาธารณะ ผลการศึกษาพบว่า บริษัทพัฒนาเมืองใช้แนวคิดเมืองเติบโตอย่างชาญฉลาด และแนวคิดเมืองอัจฉริยะ โดยมีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด และเครือข่ายกิจการพัฒนาเมือง ที่ดำเนินการโดยกลุ่มทุนในท้องถิ่น สร้างอำนาจต่อรองเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงสอดรับกับนโยบายของรัฐส่วนกลาง โดยใช้กระบวนการสานเสวนา เพื่อให้เกิดอุปสงค์ของนโยบายจากภาคประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ในเมือง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ภายในเมือง ก่อให้เกิดงานที่เป็นผลประโยชน์หลักของเมือง เกิดผลประโยชน์ต่อธุรกิจของกลุ่มทุนเมื่อมีการพัฒนาในเชิงพื้นที่ และเกิดผลประโยชน์ต่อบุคคลในฐานะผู้นำบริษัทพัฒนาเมืองที่เสริมสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในการต่อรอง การจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมือง จึงเป็นการสร้างสถาบันขึ้นมาปฏิบัติการจัดสรรผลประโยชน์ในเชิงพื้นที่ บริษัทพัฒนาเมืองและเครือข่าย ใช้วิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับชนชั้นนำทางอำนาจ เครือข่ายวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงสมาชิกระดับรัฐสภา เพื่อสร้างโอกาสและหาช่องทางปลดล็อคเมืองให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้ กล่าวคือผลักดันนโยบายผ่านชนชั้นนำทางอำนาจทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ ร่วมมือกับภาควิชาการใช้ข้อมูลจากการวิจัยมาสร้างน้ำหนักและเหตุผลของนโยบายสาธารณะ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ในการเผยแพร่ปฏิบัติการของบริษัทพัฒนาเมือง อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาการร่วมศูนย์อำนาจอยู่ในระดับชาติ การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปฏิบัติการในท้องถิ่น ยังเกิดข้อจำกัดเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของกฎระเบียบและอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจุกตัว |
Other Abstract: | This thesis examines the "Urban Development Company" as a private organization established with the purpose of participating in shaping the city's public policies. The main objectives of this study are to understand the ideas and roles of the Urban Development Company in formulating public policies for local capital groups in the form of an urban development company. Additionally, the study aims to explore the involvement and processes in the formulation of public policies by the capital group in the form of an urban development company in Udon Thani province. The research adopts a qualitative approach, collecting data from stakeholders involved in driving the operations of the Urban Development Company and public policies. The study findings indicate that the Urban Development Company adeptly applies the concepts of smart city and intelligent city. It is registered as a limited company and operates within the network of local capital groups. The company exerts negotiation power to actively participate in determining the city's development direction, ensuring alignment with local needs and central government policies. Public forums are used to generate policy aspirations from the public and various interest groups within the city. Through activities that foster internal relationships within the city, the company creates major benefits for the city and positively impacts the business interests of the capital group when development occurs in specific regions. Additionally, it benefits the company leaders personally by enhancing their reputation and credibility in negotiations. The Urban Development Company and its network engage in building relationships with influential power elites, academic networks, mass media, and even members of parliament to create opportunities and facilitate the implementation of public policies. This involves lobbying for policies at both the provincial and national levels, collaborating with academia to support policy decisions through research data, and establishing connections with local and national media outlets to disseminate the company's operations. However, due to the centralization of authority at the national level, driving operations at the local level faces significant challenges, including regulations and limitations on resource management. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82578 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.431 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.431 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6085286929.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.