Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82652
Title: ผลการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา
Other Titles: Results of using an inquiry training model to enhance delayed gratification for first graders during a transitional period
Authors: อรภิชา กองพนันพล
Advisors: ยศวีร์ สายฟ้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมอดทนรอคอยก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอยู่ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 14 คน โดยมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยโดยใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ จำนวน 30 นาที/ครั้ง และ (2) ชุดการวัดพฤติกรรมอดทนรอคอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนพฤติกรรมอดทนรอคอยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมอดทนรอคอยแบบค่อยเป็นค่อยไป นักเรียนมีแนวโน้มมีพฤติกรรมอดทนรอคอยได้เพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: The objective of the research was to compare delayed gratification scores of first graders before, during, and after the use of an inquiry training model. The sample of this study was 14 first graders who were studying during a transitional period of the 2022 academic year at a private school under the Office of the Private Education Commission in Bangkok and were selected using purposive sampling. The research instruments were lesson plans using an inquiry training model (30 minutes/period) and an assessment form of delayed gratification. The data were analyzed using arithmetic mean, standard deviation, dependent t-test, and qualitative analysis. The result of this research indicated as follow: This study found that the first graders’ overall mean scores for delayed gratification after using the inquiry training model were higher than the pre-test mean with a statistical non-significance at the .05 level. Their delayed gratification change occurred gradually, and the students were able to wait more patiently and peacefully.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82652
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1003
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.1003
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183394727.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.