Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82661
Title: การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ
Other Titles: Development of computer-based test system for assessing classroom assessment competency of teachers : an application of multidimensional item response theory
Authors: ถิรายุ อินทร์แปลง
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครูโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ  การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบและคำบรรยายสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2  การสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะ ผู้วิจัยสร้างออกแบบระบบประเมินสมรรถนะที่อาศัยระบบอินเทอร์เน็ตเว็ปเพจและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดคือ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงสภาพ ดัชนีความเหมาะสมรายข้อ ความเป็นพหุมิติและสัมประสิทธิความเที่ยงตามทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ ระยะที่ 3 การประเมินสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินประสิทธิภาพของระบบการทดสอบโดยทดลองใช้กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 1,786 คนเพื่อนำผลการทดสอบมาใช้ในการกำหนดจุดตัดคะแนนโดยอาศัยการกำหนดคะแนนจุดตัดบนแผนที่สภาวะสันนิษฐานและนำผลการวัดมาจำแนกกลุ่มตามระดับสมรรถนะและจำแนกเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) กรอบและคำบรรยายสมรรถนะมีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=3.50-5.00, IQR=0.00-1.50) 2) คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีความเที่ยงระดับสูง (rtt=.80-.82) ความตรงเชิงสภาพ (rxy=.73) โมเดลการวัดสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=39.461, df=30, p= .116 , AGFI=.988, CFI=.989, TLI=.979, SRMR=.019, RMSEA=.016, AIC=60062.182, BIC=60247.748)  ค่าสถิติ OUTFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .764-.1.199 ค่าสถิติ INFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .787-1.137 และ3) ประสิทธิภาพของระบบการทดสอบสมรรถนะอยู่ในระดับดีและผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=5.00, IQR=1.00, M=4.45, SD=0.73)
Other Abstract: This research development was aimed at creating and developing a computer-based testing system. Firstly, developed a framework and description of performance assessment. Secondly, developed a computer-based testing system and examined measure's psychometric properties with discriminant, content structural and concurrent validity, MNSQ, multidimensionality, and item response theory.  Thirdly, assessed the competency of teachers under the Office of the Basic Education Commission and the testing system’s efficacy. The 1,780 samples were used to determine the cut-off points by construct map theory. The findings are as follows. First, the competency framework and description quality passed (Mdn=3.50-5.00, IQR=0.00-1.50). Second, the psychometric properties of the measure met the acceptable with high reliability (rtt=.80-.82) and concurrent validity (rxy=.73). The assessment model was consistent with empirical data (X2=39.461, df=30, p= .116, AGFI=.988, CFI=.989, TLI=.979, SRMR=.019, RMSEA=.016, AIC=60062.182, BIC=60247.748). The OUTFIT MNSQ ranged from .764-.1.199, and The INFIT MNSQ ranged from .787-1.137. Third, the testing system was reasonable and passed (Mdn=5.00, IQR=1.00, M=4.45, SD=0.73).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82661
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.506
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.506
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184236427.pdf15.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.