Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82678
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.advisorสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร-
dc.contributor.authorรัมณรา สมประสงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:35:55Z-
dc.date.available2023-08-04T06:35:55Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82678-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหารในปัจจุบันมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 2) เพื่อสำรวจองค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงประจักษ์ขององค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ตัวอย่างวิจัย เป็นบุคลากรระดับปฏิบัติการในองค์กรทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม 50 หน่วยงาน จำนวน 860 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับ และจำนวน 863 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบพหุระดับ คือแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 2 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของกำลังพลผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร จำนวน 69 ข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 22 และ MPlus6  ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ 2) การสืบค้นข้อมูลทางดิจิทัล 3) การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น 5) การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 6) การใช้อินทราเน็ตขององค์กร 7) การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ 8) การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร 9) การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ 10) การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร 11) การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสารทางการทหาร 12) การนำเสนอข้อมูลทางทหารในรูปแบบดิจิทัล 13) การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน 14) การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ 15) การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล 16) เจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร  (2) องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร มีจำนวน 3 โมเดล คือ 1) องค์ประกอบระดับระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 1 องค์ประกอบ 2) องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ 3) องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 3 องค์ประกอบ โมเดลที่ได้รับการคัดเลือกได้แก่ องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ โมเดลดังกล่าวมีความเหมาะสมในเรื่องของค่าดัชนีความสอดคล้องที่ดีกว่าโมเดลอื่น ๆ รวมถึงการจัดองค์ประกอบที่มีความสมเหตุสมผล (3) องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วยองค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบระดับบุคคล ได้แก่ 1) การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมืออาชีพ มี 7 ตัวชี้วัดคือ การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ การสืบค้นข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การใช้อินทราเน็ตขององค์กร การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร 2) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ มี 4 ตัวชี้วัดคือ การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล เจตคติต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร 3) สิทธิและอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล มี 2 ตัวชี้วัดคือ การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร  4) การนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อทางไกล มี 3 ตั้วชี้วัดคือ การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน องค์ประกอบระดับองค์กร  ได้แก่ 1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยความเชี่ยวชาญอย่างมีวิจารณญาณ มี 12 ตัวชี้วัดคือ การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ การสืบค้นข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร  การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล เจตคติต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสาร การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน  2) สิทธิและอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ มี 4 ตั้วชี้วัด คือ การใช้อินทราเน็ตขององค์กร การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( χ2 = 911.101 ,df = 201, RMSEA =.045, CFI = .909, TLI = .892, SRMRw = .048, SRMRb = .087, AIC = 33430, BIC = 33904)-
dc.description.abstractalternativeToday's military organization's digital competencies are critical to operations in the age of rapid digital transformation. This research is considered descriptive research. The study's objectives were: 1) to synthesize digital performance indicators of military organizations; 2) to explore the multilevel components of military organization digital performance; and 3) to examine the empirical consistency of the components for multilevel digital competencies of military organizations. The research samples, operational personnel in military organizations under the Ministry of Defense, included 50 agencies, 860 people for survey component analysis, and 863 subjects for multilevel confirmatory factor analysis. The military organization's digital performance test was a tool consisting of two parts, including basic information about the respondents' personnel and the military organization's digital competency form, with 69 questions. The data were analyzed by IBM SPSS Statistics 22 and MPlus6 programs. (1) Digital performance indicators of military organizations, consisting of sixteen indicators, namely: 1) Integrated digital technology equipment deployment planning; 2) Digital data retrieval 3) Data reliability assessment; 4) Basic Technology implementation; 5) Troubleshooting Using Digital Technology 6) Corporate Intranet Implementation 7) Cyber Confidentiality; 8) Military Digital File Management; 9) Operational Case Access to Digital Files Onsite 10) Military Database Management; 11) Remote Digital Media for Military Communication 12) Digital Presentation of Military Information 13) Creating a Digital Work Environment; 14) Awareness of Cybersecurity; 15) Maintaining etiquette in a digital society; 16) Attitude toward using digital technology in the organization. (2) Multilevel exploratory factors of military organization digital competency There are 3 models: 1) 4 Within factors and 1 between factors 2) 4 Within factors and 2 between factors 3) 4 Within factors and 3 between factors. The selected model is 4 Within factors and 2 between factors. This model fits the consistency index better than others. and the composition makes sense.  (3) The multilevel  confirmatory factors of military organization’s digital competency, which consists of the within level for a total of four factors and two factors of between level, as follows within-level factors including: 1) The professional use of digital technology with seven indicators by planning for the use of integrated digital technology devices; retrieving information, assessing the credibility of information; the early use of technology; solving problems using digital technology; using the corporate intranet; managing the military digital file ; 2) Critical Use of Social Media for Cyber Security Awareness Maintaining etiquette in a digital society ; 3) The right and authority to access information, which consists of two indicators:  accessing digital files when working outside and military database management; 4) Remote presentation of information, concluding with three indicators: The use of long-distance digital media for communication, the digital presentation of information, creating a digital environment for work, and between-level factors: 1) Using digital technology with critical expertise, there are 12 indicators, which are the following: integrated digital technology device deployment planning, retrieving information, assessing the credibility of information, early use of technology, and solving problems using digital technology, military digital file management Cyber Secrecy Cyber Security Awareness, maintaining etiquette in a digital society, attitude towards the use of digital technology in the organization, the use of long-distance digital media for communication, and the creation of a digital environment for work. 2) Rights and authority to access information for decision support in order to access digital files in the case of working in the field with military database management, and the digital presentation of information. The multilevel confirmatory factor model was consistent with the empirical data ( χ2 = 911.101 ,df = 201, RMSEA = .045, CFI = .909, TLI = .892, SRMRw = .048, SRMRb = .087, AIC = . 33430, BIC = 33904)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.966-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ-
dc.title.alternativeDigital competencies of military organization: multilevel exploratory and confirmatory factor analysis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถิติและสารสนเทศการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.966-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280189127.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.