Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83432
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา แช่มช้อย-
dc.contributor.authorสิริกานต์ แก้วคงทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-22T04:15:32Z-
dc.date.available2023-08-22T04:15:32Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83432-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ผู้ให้ข้อมูล คือ ข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 123 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และฐานนิยม (mode) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.466) โดยการพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (X = 3.425) อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.282) โดยการวางแผนบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X = 4.330) อยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการจำเป็นของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวม คือ 0.210 (PNI [modified] = 0.210) ซึ่งการพัฒนาบุคลากรมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNI [modified] = 0.250) รองลงมา คือ การประเมินผลบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร (PNI [modified] = 0.210) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การทำงานเชิงรุกและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองทันที มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดและใกล้เคียงกันในสองลำดับแรก 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยกรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ตามกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 3 ด้าน นำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) การพัฒนาบุคลากร (2) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และ (3) การธำรงรักษาบุคลากร โดยทั้ง 3 ด้านมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองได้ทันทีen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a descriptive research and its purposes were: 1) to study the current, the desirable states and the Priority Needs of Human Resources Management Development of the Office of the Educational Council based on Public Sector Management Quality Award 4.0. 2) to propose approaches for developing Human Resources Management of the Office of the Educational Council based on Public Sector Management Quality Award 4.0. The sample groups used in this research were 123 people. The sample size was determined from Krejcie and Morgan’s formula and Stratified Random Sampling. The instrument used in this study was a 5-level rating scaled questionnaire. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and PNI modified. The finding indicate that: 1) Overall, the current states of Human Resources Management development based on Public Sector Management Quality Award 4.0 was high level (X=3.466), the lowest level was Human Resources Development at the moderate level. While overall of the Desirable States of Human Resources Management development was high level (X=4.282), the highest level was Human Resources Planning (X=4.330) at the high level. The Priority Needs of Human Resources Management development was 0.210 (PNI [modified] = 0.210), the highest priority needs index was Human Resource Development (PNI [modified] = 0.250), followed by Performance Appraisal and Maintenance (PNI [modified] =0.210). Considering each aspect, was found that the Priority Needs of Human Resources Management development were Proactive to customer needs and Problem – solver to improve service quality. 2) Presenting 3 approaches for developing Human Resources Management of the Office of the Educational Council based on Public Sector Management Quality Award 4.0 which consists of Human Resource Development, Performance Appraisal and Maintenance, all 3 aspects focus on Proactive to customer needs and Problem – solver to improve service quality.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.469-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา -- การบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectการบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectOffice of the Educational Council -- Personnel management-
dc.subjectPersonnel management-
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0en_US
dc.title.alternativeApproaches for developing human resources management of the office of the educational council based on public sector management quality award 4.0en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.469-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6280149027_sirikarn ke.pdf256.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.