Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83434
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ลิขิต เพชรผล-
dc.contributor.authorนรารัตน์ หงษ์สกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-22T05:55:30Z-
dc.date.available2023-08-22T05:55:30Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83434-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี 4 โรงเรียน และมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งสิ้นจำนวน 207 คน ผู้บริหาร จำนวน 21 คน ครูและบุคลากรจำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิตที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นรองลงมาคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการปรับตัวและยืดหยุ่นเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 3 คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) พัฒนาวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหา (2) พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการปรับตัวและการมีความยืดหยุ่น (3) ยกระดับการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหาen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the priority needs for developing student support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient and 2) propose the approaches for developing student support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient. by using descriptive research design. The population of this research was 4 large-sized secondary schools in Suphanburi province, and the research informants were 207 of school directors, deputy directors, teachers, and personnel from the large-sized secondary schools in Suphanburi province. There were 21 informants of school directors and deputy directors, and 186 informants of teachers and personnel. The research instruments used in this study were a questionnaire and an evaluation form of capacity and possibility. The data were analyzed by descriptive statistics that are frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNI [modified]) in order to organize the results of priority needs. The research results indicated that 1) the development of student support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient that showed the highest PNI [modified] was the part of recognizing students individually having the component of problem-solving ability as the highest PNI [modified], the development of student support system that showed the second highest PNI [modified] was the prevention and problems solving having the component of adaptability and flexibility as the highest PNI [modified], and the development of student support system that showed the third highest PNI [modified] was the part of supporting and improving students having component of problem-solving ability as the highest PNI [modified], and 2) the approaches for developing students support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient consisted of 3 guidelines, in order of priority needs, which were (1) developing how to recognise students individually focusing on the concept of students’ resilience quotient outcomes of problem-solving ability (2) developing the system of the prevention and problems solving focusing on adaptability and flexibility (3) elevating the promotion and development of individual students focusing on problem-solving ability.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.477-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียน -- สุขภาพจิตen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สุพรรณบุรีen_US
dc.subjectStudents -- Mental health-
dc.subjectHigh schools -- Thailand -- Suphanburi-
dc.titleแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิตen_US
dc.title.alternativeApproaches for developing students support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students' resilience quotienten_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.477-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6280177627_Nararat_Ho.pdf224.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.