Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83452
Title: แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน
Other Titles: Approaches for developing academic management of Samakee Mukamat consortium schools based on the concept of differentiated instruction
Authors: วชิราภรณ์ สุวรรณวรางกูร
Advisors: พงษ์ลิขิต เพชรผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การบริหารการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- นครปฐม
High schools -- Thailand -- Nakhon Pathom
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 7 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.437) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.436) และ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.407) ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบของแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) พัฒนาการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการกำหนดแนวปฏิบัติในการวัดประเมินผลด้านผลลัพธ์ (2) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์ความจำเป็นของหลักสูตรสถานศึกษาด้านเนื้อหา (3) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านผลลัพธ์
Other Abstract: The purpose of this research was to study 1) the needs for developing Academic management of Samakee Mukamat consortium schools based on the concept of differentiated instruction and 2) the approaches for developing academic management of Samakee Mukamat consortium schools based on the concept of differentiated instruction. The population was Samakee Mukamat consortium schools which were 7 schools. The research informants were directors of schools and teachers which were 191 persons. The data collection tools were rating scale questionnaire and rating scale appropriateness and possibility of evaluation form. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics to acquire frequency, percentage, mean, standard deviation, mode and a Modified Priority Needs Index (PNI [modified]) to analyze priorities of the needs. The research results turned out as follows: 1) The first priority needed for developing academic management was measurement and evaluation. (PNI [modified] = 0.437) The second priority developing academic management was developing a school curriculum. (PNI [modified] = 0.436) The third priority needed of academic management was developing academic management was developing learning process. (PNI [modified] = 0.407) maximum value on the concept of differentiated instruction are products. 2) The 3 approaches for developing academic management of Samakee Mukamat consotium schools based on the concept of differentiated instruction were (1) developing authentic measurement and evaluation with a focusing in setting guidelines on products. (2) developing a school curriculum with a focusing that analyzes the need on content. (3) developing students’ learning process with a focusing learning activities on products.
Description: สารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83452
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.356
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.356
Type: Independent Study
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380144027_wachiraporn_su.pdf127.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.