Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา แช่มช้อย-
dc.contributor.authorอริญชยา ตะพังพินิจการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-23T09:04:44Z-
dc.date.available2023-08-23T09:04:44Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83460-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารจำนวน 20 คน ครูจำนวน 198 คน และนักเรียนจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (x= 3.73) โดยทักษะการสังเกตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x = 3.91) และทักษะการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (x = 3.73) 2) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม แนวทางที่ 2 พัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสร้างเครือข่ายความคิด การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม และแนวทางที่ 3 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสังเกต การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย และการตั้งคำถามen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was descriptive research. The objectives were 1) to study the level of Disruptive Innovator skills of students in education sandbox schools under the Secondary Service Area Office Kanchanaburi. 2) to study the needs for developing academic management of education sandbox schools under the Secondary Service Area Office Kanchanaburi based on the concept of Disruptive Innovator skills. 3) to propose approaches for developing academic management of education sandbox schools under the Secondary Service Area Office Kanchanaburi education sandbox schools under the Secondary Service Area Office Kanchanaburi. The informants consisted of 20 administrators, 198 teachers, and 375 students. The research instruments were evaluation forms about the level of disruptive innovator skills, a rating scale questionnaires and evaluation forms of appropriability and possibility. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Mode, a Modified Priority Needs Index PNI [Modified] and content analysis The results were as follow: 1) the level of Disruptive Innovator skills of students was at the high level (x = 3.73), the highest level among all is observing skill (x = 3.91) and the lowest level is associating skill (x = 3.62) 2) The first priority needed for developing academic management was evaluation. The second priority needed for developing academic management was developing curriculum. The third priority needed for developing academic management was learning management. 3) There were 3 approaches for developing academic management of education sandbox schools under the Secondary Service Area Office Kanchanaburi based on the concept of Disruptive Innovator skills. The first approach was to develop an evaluation focusing on disruptive innovator skills learning outcomes of associating skill and questioning skill. The second approach was to develop a curriculum focusing on disruptive innovator skills learning outcomes of networking skill, associating skill and questioning skill. The third approach was to develop learning management focusing on disruptive innovator skills learning outcomes of observing skill, associating skill and questioning skill.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.353-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียน -- ไทย -- กาญจนบุรีen_US
dc.subjectSchools -- Thailand -- Kanchanaburi-
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผันen_US
dc.title.alternativeApproaches for Developing Academic Management of Education Sandbox Schools under the Secondary Service area office Kanchanaburi based on the concept of Disruptive Innovator Skillsen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.353-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380202727_arinchaya_taphangphinijkarn.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.