Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83686
Title: ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ
Other Titles: Need for pursuing further study of teachers and educational personnel in a graduate degree, majoring in business and vocational education, at faculty of Education, Chulalongkorn University, in Bangkok metropolis and vicinities : a multiple discriminant analysis
Authors: วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์
Advisors: จรูญศรี มาดิลกโกวิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ครู -- การศึกษาต่อ
Issue Date: 2555
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจสภาพความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อ กับความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คัดสรรและสร้างสมการจำแนกกลุ่มความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติการสอนทางธุรกิจศึกษาและอาชีวศึกษา หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล จำนวน 618 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน สถิติ ไค-สแควร์ (Chi-square) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ (Multiple Discriminant Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS for windows ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.8 และ 49.8 ตามลำดับ รองลงมาคือต้องการศึกษาต่อในอนาคต (ระหว่าง 1-5 ปี) คิดเป็นร้อยละ 24.6 และ 29.8 ตามลำดับ และ ต้องการศึกษาต่อทันทีน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.6 และ 20.4 ตามลำดับ 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อทั้งในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ได้แก่ อายุ หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งวิชาการ ความรับผิดชอบสอนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจศึกษาและอาชีวศึกษา ประสบการณ์ทำงาน รายได้ อาชีพของบิดามารดา การศึกษาสูงสุดของบิดาและหน่วยงานมีแผนจะสนับสนุนให้ศึกษาต่อ ในขณะที่จำนวนพี่น้องที่ศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาและความสะดวกในการเดินทางจากที่ทำงานมาที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อทั้งในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อทั้งในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ได้แก่ ความต้องการพัฒนาตนเอง ความคาดหวังในการประกอบอาชีพ ความคล้อยตามบุคคลเกี่ยวข้อง ในขณะที่ ปัจจัยทัศนคติต่อวิชาชีพครูไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อทั้งในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ส่วน ปัจจัยสถาบันการศึกษา และทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษา มีความสัมพันธ์เฉพาะกับความต้องการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ปัจจัยที่คัดสรรในการจำแนกกลุ่มความต้องการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาพบว่าฟังก์ชั่นที่ 1 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และกลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และ (2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่ม ได้ดีที่สุดคือ คณะที่สำเร็จการศึกษา ความคล้อยตามบุคคลที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนให้ศึกษาต่อ ส่วนฟังก์ชั่นที่ 2 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลกรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และ(2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และกลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุดคือ รายได้ต่อเดือน อายุ ความสะดวกในการเดินทางจากที่อยู่อาศัยถึงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความคาดหวังในการประกอบอาชีพและ ความรับผิดชอบสอนในวิชาธุรกิจศึกษาและอาชีวศึกษา โดยฟังก์ชั่นสามารถจำแนกกลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และกลุ่มที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ โดยรวมได้ถูกต้องร้อยละ 56.50 4. ปัจจัยที่คัดสรรในการจำแนกกลุ่มความต้องการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตของครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาพบว่าฟังก์ชั่นที่ 1 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครูอาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และกลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และ (2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุดคือ ความคล้อยตามบุคคลที่เกี่ยวข้อง อายุ ความต้องการพัฒนาตนเองและ รายได้ ส่วนฟังก์ชั่นที่ 2 จำแนกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที และ กลุ่มครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ (2) กลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต ตัวแปรที่สำคัญในการจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุดคือ จำนวนปีการศึกษาของบิดามารดา สถาบันการศึกษา ความคาดหวังในการประกอบอาชีพ และ ทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษา โดยฟังก์ชั่นสามารถจำแนกกลุ่มครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทันที กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต และกลุ่มที่ไม่ต้องการศึกษาต่อ โดยรวมได้ถูกต้องร้อยละ 53.10
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to survey the needs for pursuing further study of teachers and educational personnel in a master and doctoral of educational degree, majoring in business and vocational education, at Faculty of Education, Chulalongkom University (2) to study the relationship among personal factors, factors affecting decision making on further study and the needs for pursing further study (3) to analyze selected factors and form the discriminating equation of the needs for pursuing further study. The samples of this research were 618, who work as teachers and educational personnel, who were teaching in business education and vocational education or working in related fields at school under the Ministry of Education in Bangkok Metropolis and vicinities. The research instruments were questionnaires about factors that affect the needs for pursuing further study in master and doctoral of education programs, majoring in business and vocational education. The research data were analyzed by employing SPSS for windows for descriptive statistics, Chi-square, Analysis of Variance (ANOVA) and Multiple Discriminant Analysis (MDA). The research findings were as follows: 1. The needs of not pursuing further study of teachers and educational personals in a master and doctoral of education, majoring in business and vocational education were the most (52.8% and 49.8%, respectively), the needs to pursue further study in the future (between 1-5 years) were the second (24.6% and 29.8%, respectively), and the needs to pursue further study immediately were the least (22.6% and 20.4%, respectively). 2. The needs of pursuing further study in a master and doctoral of education, in personal factors, were related to age, working organization, academic positions , teaching in business education and vocational education, working experience, revenue, father and mother occupation, father education and considering that working organization would support to pursue further study but no relationship to brother or sister studied in graduate school and convenient to go to study from workplace, at 0.05 level of statistical significant. Moreover, the needs of pursuing further study in a master and doctoral of education, in factors affecting decision making on further study, were also related to their own development needs, expectation in career and subjective norm but no relationship to the attitudes towards professional teachers. Nevertheless, the educational institutions and the attitudes towards vocational education were only related with teachers and educational personals that needs of pursuing further study in a doctoral of education, at 0.05 level of statistical significant. 3. Selected factors in discriminating of the needs of pursuing further study in a master of education of teachers and educational personals were found that the first function divided into 2 groups (1) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study immediately or need to pursue further study in the future and (2) a group of teachers and educational personals that did not need further study. The best factors of this discrimination in the first function were the graduated faculty, subjective norm and considering that working organization would support to pursue further study. The second function separated teachers and educational personals into 2 groups (1) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study immediately and (2) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study in the future or did not need further study. The best factors of this discrimination in the second function were revenue, age, convenient to go to study from the residential, expectation in career and teaching in business education and vocational education. These multiple discriminant functions could correctly classify original grouped cases at 56.50 percent. 4. Selected factors in discriminating of the needs of pursuing further study in a doctoral of education of teachers and educational personals were found that the first function divided into 2 groups (1) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study immediately or need to pursue further study in the future and (2) a group of teachers and educational ,personals that did not need further study. The best factors of this discrimination in the first function were the subjective norm, age, their own development needs and revenue. The second function separated teachers and educational personals into 2 groups (1) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study immediately or did not need further study and (2) a group of teachers and educational personals that need to pursue further study in the future. The best factors of this discrimination in the second function were father and mother education, educational institutions, expectation in career and attitudes towards vocational education. These multiple discriminant functions could correctly classify original grouped cases at 53.10 percent.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83686
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2012.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.RES.2012.2
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Virut_Ki_Res_2555.pdf183.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.