Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83827
Title: การกำจัดสารประกอบกำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงโดยการดูดซับบนตัวดูดซับประเภทซีโอไลท์ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Removal of sulfur compounds in transportation fuels by adsorption on zeolite adsorbents
Authors: ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Subjects: น้ำมันเชื้อเพลิง
สารประกอบซัลเฟอร์
การดูดซับ
ซีโอไลต์
สารประกอบอินทรีย์ -- การบำบัด
Issue Date: 2549
Publisher: วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันในปริมาณต่ำเป็นพิเศษเป็นที่ต้องการมากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมากระบวนการดูดซับจึงได้รับความสนใจในการกำจัดสารประกอบกำมะถันประเภทที่กำจัดได้ยากซึ่งไม่สามารถกำจัดได้โดยวิธีไฮโดรดีซัลเฟอร์ไรเซชั่น (Hydrodesulfurization) งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการดูดซับสารประกอบกำมะถันประเภทไทโอฟีน 3 ชนิด คือ 3-เมทิลไทโอฟีน เบนโซไทโอฟีน และไดเบนโซไทโอฟีน ในระบบแบบต่อเนื่อง โดยใช้ตัวดูดซับ คือโซเดียมเอ็กส์ซีโอไลท์ (NaX zeolite) และใช้ดีเคน และไอโซออกเทน เป็นแบบจำลองของน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลและแก๊สโซลีนตามลำดับ โดยศึกษาผลกระทบของความเข้มข้นตั้งต้นของสารประกอบกำมะถันและชนิดของสารประกอบกำมะถันที่มีผลต่อกราฟการเบรคทรู ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเมื่อความเข้มข้นตั้งต้นของสารประกอบกำมะถันในสารละลายสูงขึ้น ความชันของกราฟการเบรคทรูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ระยะเวลาในการเบรคทรูจะสั้นลง เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการเบรคทรูของสารประกอบกำมะถันทั้ง 3 ชนิดพบว่าลดลง ตามลำดับดังนี้ เบนโซไทโอฟีน>3-เมทิลไทโอฟีน>ไดเบนโซไทโอฟีน สำหรับการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายกราฟการเบรคทรูของการดูดซับของสารประกอบกำมะถันบนโซเดียมเอ็กซ์ซีโอไลท์นั้นได้พิจารณาทั้งการแพร่ผ่านของสารประกอบกำมะถันทั้งภายในหอดูดซับและภายในซีโอไลท์ ผลที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สอดคล้องกับผลการทดลองภายใต้สภาวะต่าง ๆ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาการฟื้นฟูสภาพและการนำตัวดูดซับกลับมาใช้ใหม่ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ซึ่งพบว่าสามารถฟื้นฟูความสามารถในการดูดซับของโซเดียมเอ็กซ์ซีโอไลท์ได้ดีในกรณีของ 3-เมทิลไทโอฟีน และเบนโซไทโอฟีน แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอสำหรับไดเบนโซไทโอฟีน
Other Abstract: Recently, new laws and regulations concerning environmental impacts have driven an increase in the demand of ultra low sulfur fuels. Over the years, the adsorption process has proven to be an efficient process for removing a small amount of refractory sulfur compounds (ppm level). Which is difficult to treat by the conventional hydrodesulfurization process (HOS). In this research, continuous liquid adsorption of three model sulfur compounds, i.e., 3-methylthiophene (3-MT), benzothiophene (BT) and dibenzothiophene (DBT), using NaX zeolites were studied in a packed column. Iso-octane and decane were used to represent gasoline and diesel, respectively. The effects of initial sulfur concentration and types of sulfur compounds on the adsorption breakthrough curve were examined. The result shows that at higher initial feed concentration, the slope of the breakthrough curve is steeper and the breakthrough time is shorter. Whereas, the breakthrough of the three types of sulfur compounds are found to arrange in the order of BT>3-MT>DBT. The mathematical model of sulfur adsorption on NaX zeolite was developed to predict breakthrough profiles. It considers diffusion along the column and inside the adsorbent particles. The breakthrough curve obtained from the model agrees well with the experimental data. In addition, the desorption of sulfur compounds was also studied by heating the column at 400°C. The desorptions of adsorbed 3-MT and BT were successfully achieved. NaX zeolite can be recovered almost all of the original capacity but it is not effective for DBT desorption.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83827
Type: Technical Report
Appears in Collections:Petro - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pomthong Ma_Res_2549.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.