Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84144
Title: การพัฒนานวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ทางศิลปะสำหรับนักเรียนประถมศึกษา
Other Titles: Development of box art learning innovation from recycled materials to enhance art creativity skills for elementary students
Authors: ปฏิพล พาด้วง
Advisors: อินทิรา พรมพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ทางศิลปะสำหรับนักเรียนประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลออกแบบและพัฒนานวัตกรรม โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน จำนวน 15 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากล่องการเรียนรู้ 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ 5 ท่าน และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะระดับชั้นประถมศึกษา 5 ท่าน ระยะที่ 2  ศึกษาผลการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 26 คน และครูประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และนวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ แบบสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมสำหรับนักเรียน และครูผู้สอน แบบบันทึกการสนทนากลุ่มสำหรับนักเรียนแบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงานจากผู้เรียน และแบบประเมินนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้เพื่อส่งเสริมทักษะ การสร้างสรรค์ทางศิลปะสำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีหลักการคือ กล่องการเรียนรู้ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ 3 กล่องกิจกรรม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปะติด ภาพพิมพ์ และงานปั้น ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ที่อยู่ใกล้ตัวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ พัฒนาการสร้างสรรค์จากกิจกรรมศิลปะและวัสดุเหลือใช้ สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอนในบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนครูศิลปะ แนวทางในการนำนวัตกรรมกล่องการเรียนไปปรับใช้ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ 1) การนำเข้าสู่บทเรียนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เช่น การใช้เกมส์ หรือเพลง 2) บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีการอธิบายขั้นตอนการใช้กล่องการเรียนรู้ให้ชัดเจน 3) ลักษณะการจัดการเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมอย่างยืดหยุ่นปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียน 4) การวัดและการประเมินผลตามสภาพจริง โดยประเมินจากกระบวนการและสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ระหว่างการทำกิจกรรม ผลจากการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมกล่องการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจทั้งหมดอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =2.95) โดยสามารถเรียงลำดับตามด้านที่มีความพึงพอใจจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ ดังนี้ ด้านพัฒนาการของนักเรียน (ค่าเฉลี่ย =2.98) ด้านการสอนและกิจกรรมของกล่องการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย =2.94) และด้านลักษณะของกล่องการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย =2.94) ผลจากการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้เรียนชื่นชอบกิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ เพราะไม่สิ้นเปลืองเงินและเป็นการนำวัสดุเหลือใช้รอบตัวมาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานศิลปะ มีความสนุก และรู้สึกสนใจหากมีการนำกล่องการเรียนรู้มาปรับใช้กับการเรียนการสอน
Other Abstract: This research aims to develop and examine the effects of using an innovative art learning box made from recycled materials to enhance creative art skills for elementary school students. The study follows a Research and Development (R&D) approach, divided into two phases. Phase 1 involves data collection, design, and innovation development by gathering information from relevant literature and research, along with interviews with experts in three areas: 5 experts in developing learning boxes, 5 experts in organizing art activities with recycled materials, and 5 experts in teaching art at the elementary school level. Phase 2 focuses on studying the outcomes of using the innovation with a sample group consisting of 26 primary school students and their teachers. The research tools include learning activity plans, satisfaction surveys for students and teachers, group discussion transcripts for students, and an innovation assessment by experts. Data analysis is conducted quantitatively, calculating averages and percentages, as well as qualitatively through content analysis. The research findings indicate that the development of innovative art learning boxes from recycled materials effectively promotes creative skills and artistic creativity for elementary school students. The approach involves three activity boxes focusing on collage, printmaking, and sculpting, encouraging the use of nearby recycled materials to create artistic works. The development of creative skills through art activities and recycled materials serves as a valuable resource for teaching in small schools with a shortage of art teachers. Recommendations for implementing the learning box innovation in teaching activities include: 1) Stimulating student interest through activities like games or music, 2) Clearly explaining the use of the learning box in teaching activities, 3) Flexible learning activity organization tailored to students, and 4) Evaluating outcomes based on real experiences, considering both the process and what students learn. The assessment of satisfaction with the learning box activities among elementary school students reveals an overall high level of satisfaction (Mean = 2.95), with the highest satisfaction in student development (Mean = 2.98), teaching and learning box activities (Mean = 2.94), and the characteristics of the learning box (Mean = 2.94). Group discussions indicate that students appreciate art activities using recycled materials due to cost-effectiveness and the opportunity to creatively use readily available materials, finding it enjoyable and interesting when incorporating learning boxes into their education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84144
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480037627.pdf11.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.