Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84162
Title: การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยจากชุมชนใต้สะพานสู่ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ในปัจจุบัน
Other Titles: The changes to current housing conditions of On Nut 14 rai community from under-bridge community
Authors: วิจิตรา ยังมี
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ได้รับยกย่องและได้รับรางวัล 'ชุมชนซาเล้งต้นแบบดีเด่น' ในอดีตเคยเป็นชุมชนบุกรุกอยู่อาศัยใต้สะพานมาก่อน ซึ่งมีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและไม่ถูกสุขลักษณะ ปี พ.ศ.2536 คณะรัฐมนตรีมีมติแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนใต้สะพาน มีการเคหะแห่งชาติและกรุงเทพมหานครดำเนินโครงการร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย พัฒนาชุมชนโดยใช้แนวคิดการรื้อย้ายและพัฒนาชุมชนใหม่ (Relocation and Reconstruction) สู่พื้นที่ดิน 3 แห่ง และหนึ่งในนั้น คือ ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ การเคหะแห่งชาติได้จัดสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ชาวชุมชนสร้างบ้านด้วยตนเองบนแปลงที่ดินตามความสามารถทางเศรษฐกิจของแต่ละครัวเรือน ซึ่งช่วงย้ายมาใหม่มีบ้านทั้งหมด 95 หลัง ปัจจุบันชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ หลังจากได้รับการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในครั้งนั้นมา 22 ปีแล้ว ได้มีการพัฒนาขึ้นจนได้รับรางวัล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยจากชุมชนใต้สะพานมาสู่ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ในปัจจุบัน และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยดีขึ้น และปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกรณีศึกษา บ้าน 24 หลัง โดยสำรวจกายภาพบ้านและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยจากชุมชนใต้สะพานสู่ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ในปัจจุบัน เป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่ 1 จากชุมชนใต้สะพานมาสู่ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ย้ายมาใหม่ (พ.ศ.2544) และช่วงที่ 2 จากชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ย้ายมาใหม่ มาสู่ปัจจุบัน (พ.ศ.2544-2566) ผลการศึกษาพบว่า (1) การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัย ช่วงที่ 1 พบว่า ที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงสภาพดีขึ้นมาก จากห้องใต้สะพานเป็นบ้านทั้งหลังที่มีองค์ประกอบครบถ้วน และมีความมั่นคงในการถือครองที่อยู่อาศัย และช่วงที่ 2 พบว่า ที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงดีขึ้น 18 หลัง คิดเป็น 75% ของกรณีศึกษา และไม่ดีขึ้น 6 หลัง คิดเป็น 25% (2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัย ช่วงที่ 1 ปัจจัยสำคัญคือ การสนับสนุนภายนอก โดยพบมากสุดเรียง 3 ลำดับคือ การดำเนินโครงการของภาครัฐ เงินเชดเชยการรื้อย้าย และกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม อาทิ การร่วมจัดหาที่ดินชุมชนใหม่ กลุ่มออมทรัพย์ การร่วมออกแบบผังบ้านและชุมชน และช่วงที่ 2 ปัจจัยสำคัญคือ ปัจจัยภายในครัวเรือนด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สภาพที่อยู่อาศัยดีขึ้น โดยพบมากสุดเรียง 3 ลำดับคือ ความต้องการพื้นที่ใช้สอย สภาพแวดล้อม อาทิ แดด-ฝน ความปลอดภัย และอาชีพดีขึ้น ซึ่งทำให้เศรษฐกิจครัวเรือนดีขึ้น (3) ปัจจัยการรับรางวัลชุมชนพบว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยเพียง 1 หลัง คิดเป็น 4% ของกรณีศึกษา (4) ปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน แม้บ้านส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพดีขึ้นมาก แต่ยังพบปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยมากถึง 80 รายการในกรณีศึกษาทั้งหมด เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ปัญหาความคงทนของโครงสร้างและวัสดุ 56% ปัญหาสุขลักษณะในที่อยู่อาศัย 16% ปัญหาสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย 18% และปัญหาพื้นที่ใช้สอย 6% ของรายการปัญหา (5) กระบวนการพัฒนาชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ช่วงที่ 1 พบว่า มีการสนับสนุนทั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพที่อยู่อาศัย และช่วงที่ 2 พบว่า มีการสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก ขาดการสนับสนุนการพัฒนากายภาพที่อยู่อาศัย ครัวเรือนจึงพัฒนากายภาพที่อยู่อาศัยด้วยตนเองตามศักยภาพและเศรษฐกิจครัวเรือน โดยบางส่วนขาดความเข้าใจมาตรฐานขั้นต่ำ มีข้อจำกัดเศรษฐกิจ สอดคล้องกับปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่พบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กายภาพที่อยู่อาศัยควรได้รับการเข้ามาสนับสนุนกำกับดูแลจากภาครัฐ และควรมีการพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน จึงนำมาสู่ (1) ข้อเสนอแนะต่อชุมชน ควรมีการพัฒนาทักษะช่างของคนในชุมชนเพื่อสามารถปรับปรุงบ้านด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และควรมีการสร้างทุนทรัพย์เพื่อปรับปรุงบ้าน ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนให้ดีขึ้น (2) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน (2.1) กระบวนการพัฒนาชุมชนควรบรรจุกระบวนการพัฒนากายภาพที่อยู่อาศัยร่วมด้วย โดยต้องมีการติดตามผลการพัฒนาสภาพกายภาพที่อยู่อาศัยเป็นระยะ และควรส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้มีความสม่ำเสมอ ส่งเสริมความรู้มาตรฐานขั้นต่ำและสุขลักษณะที่ดีในที่อยู่อาศัยให้กับชุมชน (2.2) การบวนการพัฒนากายภาพที่อยู่อาศัย ควรมีการส่งเสริมการปรับปรุงบ้านโดยการรวมกลุ่มตามความสัมพันธ์ของชุมชนปัจจุบัน เพื่อลดต้นทุนปรับปรุงบ้านและส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น โดยใช้กระบวนการทำงานร่วมกัน
Other Abstract: Recently, the On Nut 14 Rai Community has received recognition and the prestigious award of "Outstanding Model Zaleng’s Community". In the past, the community was once an informal settlement located under a bridge, characterized by unstable and poor housing conditions. In 1993, the Thai Cabinet decided to address the housing issue in the community. The National Housing Authority and the Bangkok Metropolitan Administration collaborated with the Housing Development Foundation to implement the Relocation and Reconstruction project. As part of the project, the community was relocated to three different land plots, one of which is the On Nut 14 Rai community. Basic infrastructure was provided by the government, allowing community members to build houses according to their economic capabilities. As a result, all 95 households in the community were able to move into new homes. After 22 years of development, the On Nut 14 Rai community has received recognition and the "Outstanding Slum Model Community" award. The study aims to examine the changes of living conditions from the former under-bridge community to the present-day On Nut 14 Rai community. It analyzes the factors that contributed to the positive changes and the current challenges facing the community. The research methodology includes in-depth interviews and physical surveys of 24 houses, representing two periods: the relocation from under the bridge to On Nut 14 Rai (in 2001) and the subsequent development from then until the present (2001-2013). The study findings indicate that during the first period, there was a significant improvement in housing conditions, with all houses transitioning from under-bridge rooms to complete and secure houses. In the second period, 18 out of 24 houses (75%) showed further improvements, while the remaining 6 houses (25%) did not experience significant changes. The factors that influenced the transformation in the first period included external support, such as government projects, financial aid for relocation, and community development processes. In the second period, important internal factors within households, such as economic conditions, social aspects, and the desire for better living conditions, contributed to the improved housing conditions. Despite the overall improvement, the study identified some current housing issues. The main problems include structural and material durability, living environment quality (e.g., exposure to sunlight and rain), and limited living space. The study suggests several recommendations for the community and relevant authorities. The community should focus on developing the skills of community members to enable them to improve their houses and promote economic development. Authorities should integrate the process of improving housing conditions into the overall community development plan. Additionally, collaboration between community members can reduce renovation costs and strengthen community relationships.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84162
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF ARCHITECTURE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6472018925.pdf23.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.