Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84205
Title: ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์
Other Titles: Online vigilantism: a multi-case study of situations, interactions and effects, regarding the real-life crime being investigated and sentenced online
Authors: เขมสรณ์ หนูขาว
Advisors: ฐิติยา เพชรมุนี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์” สามารถสรุปผลการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพได้ว่า ศาลเตี้ยออนไลน์คือพื้นที่ทางอารมณ์ที่แสดงบทบาทคู่ขนานไปกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ในรูปแบบของพิธีกรรมที่ทุกคนสามารถริเริ่มและมีกลุ่มคนเข้าร่วมในภายหลัง กลายเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ที่มีการเตรียมการ การปฏิบัติการ และการลงโทษ โดยเป็นการใช้อำนาจผ่านสื่อออนไลน์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและนำมาซึ่งความรุนแรง ประกอบด้วย 4 ตัวแสดงที่มีบทบาทแตกต่างกัน ได้แก่ 1) ผู้แสดงส่วนที่ 1 หมายถึง สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อสังคม 2) ผู้แสดงส่วนที่ 2 หมายถึง กลุ่มคนที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ 3) ใช้การมองเห็นและการรับรู้เป็นอาวุธจนเกิดการแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง และ 4) เหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยสถานการณ์ 5 รูปแบบ เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตั้งแต่การให้ข้อมูล การตีแผ่ การปักธง การสืบสวน และการไล่ล่า ซึ่งเป็นกระบวนการของสถานการณ์ที่ก่อรูปทรงจากพื้นที่ทางอารมณ์ จนกลายเป็นพลังงานทางอารมณ์ และแสดงออกผ่านปฏิสัมพันธ์แบบมีบทบาทแลกเปลี่ยน ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบตามมาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านผู้กระทำ ด้านเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม และด้านสังคม อย่างไรก็ดี ศาลเตี้ยออนไลน์สามารถพิจารณาได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ด้านหนึ่งอาจก่อให้เกิดความอยุติธรรม กลายเป็นกระบวนการยุติธรรมไวรัลหรือกระบวนยุติธรรมแบบปากต่อปากในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน อีกด้านหนึ่งเปรียบได้ดั่งรูปแบบคู่ขนานของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ที่ช่วยถ่วงดุลกระบวนการยุติธรรมผ่านเลนส์เทคโนโลยี จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนด้านบวกและควบคุมด้านลบ เพื่อนำศาลเตี้ยออนไลน์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
Other Abstract: The research study on “online vigilantism: a multi-case study of situations, interactions and effects, regarding the real-life crime being investigated and sentenced online”, summarizing its findings based on qualitative research, suggests that online vigilantism is an emotional field serving its role as a parallel form of the justice system. It is a form of ritual which individuals can initiate, and then participants engage in it. It follows a repetitive pattern of actions involving preparation, performance, and punishment. Online vigilantism exercised its power through online media, leading to conflict and violence. It is comprised of four distinct actors with different roles: 1) first actor - online media influencing society 2) second actor - individuals expressing opinions online 3) weaponization of visibility and awareness - using the affordances of the internet to access information as a weapon to spread it widely, and 4) victims - those affected by the vigilante activities. There are five forms of online vigilantism according to the degree of violence, ranging from least to most extreme violence: 1) informing 2) exposing 3) flagging 4) investigating and 5) hounding. Online vigilantism is a situational process shaping from emotional field into emotional energy and expressed through proactive interactions. This may bring about several effects on actors, victims, human rights, justice system, and societal aspects. Nevertheless, there are both positive and negative aspects of online vigilantism. On the one hand, online vigilantism may cause injustice. It becomes viral justice or justice by word of mouth in the online world filled with errors, posing a risk of undue interference in justice and disproportionate punishment. On the other hand, it can serve as a parallel form of the justice system, balancing the justice system through the lens of technology. Therefore, to ensure the potential benefits of online vigilantism, it is crucial to encourage the use of online vigilantism in a positive way and limit its use in a negative way.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84205
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6381002924.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.