Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84321
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ | - |
dc.contributor.advisor | ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | นายแพทย์วัชระ วิไลรัตน์ | - |
dc.contributor.author | ดนุพงษ์ บุตรทองคำ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T10:12:36Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T10:12:36Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84321 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | ภาวะกระดูกต้นขาส่วนปลายหักนั้นเป็นภาวะบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง มีสาเหตุจากการบาดเจ็บทั้งภาวะบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการหักผ่านรอยโรค การวินิจฉัยและการวางแผนการผ่าตัดเป็นขบวนการที่สำคัญในการรักษา ซึ่งต้องพึ่งพาการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายมาก ปริมาณรังสีสูง และใช้ระยะเวลาในการถ่ายภาพยาวนานกว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์ ดังนั้นการสร้างภาพสามมิติของกระดูกต้นขาที่แตกหักจากถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์จึงเป็นที่ต้องการและเป็นโจทย์ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกทั้งยังขาดแคลนข้อมูลในการวิจัย งานวิจัยนี้จึงนำเสนอโมเดลสร้างภาพสามมิติของกระดูกต้นขาส่วนปลายที่แตกหักจากภาพถ่ายรังสีสองมุมมอง เพื่อเพิ่มมโนภาพการมองเห็นแบบสามมิติใช้สำหรับการวินิจฉัยและการวางแผนการผ่าตัด โมเดลการสร้างภาพสามมิติได้ประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกซึ่งเป็นโครงข่ายประสาทเทียมคอนโวลูชันแบบพีระมิด คลาสช่วยฝึกสอนเป็นตัวแทนของบริเวณกระดูกที่แตกหักช่วยสนับสนุนการเรียนรู้รายละเอียดการรอยแตกหักของโมเดล เนื่องจากตัวอย่างภาพสำหรับฝึกสอนมีไม่เพียงพอ เทคนิคตัวอย่างฝึกสอนที่แตกหักจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อขยายขนาดตัวอย่างสำหรับฝึกสอนและเพื่อเพิ่มความแม่นยำของผลลัพธ์ นอกจากนี้โมดูลสำหรับผสมคุณสมบัติตามแนวแกนจึงถูกพัฒนาขึ้นภายในโมเดลเพื่อเอาชนะปัญหาความคลาดเคลื่อนเชิงมุมระหว่างภาพถ่ายรังสี โมเดลที่นำเสนอสามารถทำงานกับชุดข้อมูลที่มีคลาดเคลื่อนเชิงมุมระหว่างภาพถ่ายรังสีได้ถึง 10 องศา โดยมีค่า mIoU ที่ 0.827±0.083SD. และ mASSD มีค่า 1.043±0.481SD. โมเดลที่นำเสนอให้รูปทรงกระดูกต้นขาและรายละเอียดของรอยแตกหักที่แม่นยำใกล้เคียงกับความเป็นจริง | - |
dc.description.abstractalternative | A proximal femoral fracture is a severe injury occurring in traumatic and pathologic causes. Diagnosis and Preoperative planning are necessary procedures relying on preoperative radiographs such as X-ray and CT images. However, CT imaging has a higher radiation dose, cost, and longer acquisition time than X-ray imaging. Therefore, 3D reconstruction of the fracture from X-ray images had been requisite and remains a challenging problem, as well as a lack of dataset. This research proposes a 3D proximal femoral fracture reconstruction from biplanar radiographs to improve the 3D visualization of bone fragments for diagnosis and preoperative planning. A novel 3D Fracture Reconstruction Network is proposed which applies a deep learning-based, Fully Convolutional Network with Feature Pyramid Network architecture. The Auxiliary class is proposed, which refers to fracture representation. It encourages network learning to reconstruct the fracture. Since the samples are scarce to acquire, the Fracture augmentation is invented to enlarge the fracture training samples and improve reconstruction accuracy. Moreover, Axial-fusion module is also invented and built into the model to overcome misalignment problem. The model can operate with misaligned data up to 10 degrees of rotational error, achieving mIoU of 0.827±0.083SD. and mASSD of 1.043±0.481SD. The results show the precise shape and fracture detail similar to the real femoral fracture. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Multidisciplinary | - |
dc.subject.classification | Computer Science | - |
dc.subject.classification | Computer Science | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | - |
dc.subject.classification | Medical diagnostic and treatment technology | - |
dc.title | การสร้างภาพสามมิติของกระดูกต้นขาที่แตกหักจากภาพถ่ายรังสีสองมุมมองด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก | - |
dc.title.alternative | 3D image reconstruction of proximal femoral fracture from two-view x-ray images using deep learning | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมชีวเวช | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6271036721.pdf | 7.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.