Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84458
Title: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบต้นทุนตลอดอายุการใช้งานและปริมาณการปล่อยสารคาร์บอนของระบบหล่อในที่และระบบหล่อสำเร็จโดยวิธีมอนติคาร์โลและสัมประสิทธิ์
Other Titles: A comparative study of life-cycle cost and carbon emission between cast-in place and prefabrication systems using monte carlo and coefficient methods
Authors: รัชชานนท์ เอี่ยมรอด
Advisors: นคร กกแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมการก่อสร้างสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และยังมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความต้องการวัสดุ แรงงาน และมลพิษที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อลดปัญหาด้านแรงงาน เจ้าของโครงการได้หันมาใช้วิธีการก่อสร้างใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น ระบบหล่อสำเร็จ เป็นต้น โดยมีการประเมินว่าระบบหล่อสำเร็จช่วยลดการใช้แรงงานได้ถึง 50% และลดเวลาก่อสร้างได้ 30% อย่างไรก็ตาม ต้นทุนก่อสร้างเป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ผลการประเมินต้นทุนรวมในช่วงก่อสร้างและใช้งานอาจแตกต่างจากที่ได้ประเมินในช่วงก่อนการก่อสร้าง ดังนั้นการประเมินต้นทุนค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการควรนำปัจจัยเสี่ยงมารวมในการวิเคราะห์ด้วย งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนรวมตลอดอายุของระบบคอนกรีตหล่อในที่และระบบหล่อสำเร็จ โดยประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการทำงาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีการวิเคราะห์ความอ่อนไหวรวมไปถึงการใช้แบบจำลองมอนติคาร์โลเพื่อจำลองหาช่วงค่าที่เป็นไปได้ของต้นทุนตลอดอายุการงานในโครงการก่อสร้างตัวอย่างทั้ง 6 โครงการ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นในกิจกรรมผลิตวัสดุก่อสร้างและการขนส่งเพื่อนำไปใช้เป็นค่าพารามิเตอร์ในการประเมินการปล่อยสารคาร์บอนโดยวิธี Coefficient method ในโครงการก่อสร้างตัวอย่างทั้ง 6 โครงการ โดยผลลัพธ์ของการศึกษาคือ สัดส่วนของต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ที่ประกอบไปด้วย (1) ต้นทุนในช่วงเตรียมการและช่วงก่อสร้าง และ (2) ต้นทุนรวมในช่วงการใช้งานทั้งในมุมมองของระบบหล่อในที่และระบบหล่อสำเร็จในโครงการก่อสร้างตัวอย่างทั้ง 6 โครงการ ซึ่งพบว่าทุกโครงการตัวอย่างของต้นทุนตลอดอายุการใช้งานทั้งระบบหล่อในที่และหล่อสำเร็จนั้น มีต้นทุนรวมใน 2 ช่วงแรกมีค่ามากกว่าต้นทุนรวมในช่วงการใช้งาน (O&M phase) และยังพบว่าอัตราส่วนของต้นทุนรวมตลอดอายุการใช้งานของระบบหล่อในที่ต่อต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของระบบหล่อสำเร็จนั้นนในแต่ละโครงการตัวอย่าง อยู่ที่ 0.60 – 0.73 (โดยไม่คำนึงถึงมิติด้านเวลาที่แตกต่างกันในช่วงการก่อสร้าง) ในส่วนของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการขนส่งในโครงการก่อสร้างตัวอย่างทั้ง 6 โครงการ ที่พบว่า ระบบหล่อในที่นั้นมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการขนส่งน้อยกว่าระบบหล่อสำเร็จ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยประกอบการตัดสินใจของเจ้าของโครงการในการเลือกวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมในบริบทของต้นทุนรวมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Other Abstract: Construction industry plays a significant role in economic growth, and the industry will continue to grow with the economic expansion. However, the industry is known for its labor-intensiveness, and it could be responsible for more than half of the depletion of the world’s natural resources and for polluting the world with greenhouse gases generating from material extraction to all related construction activities. Therefore, the growth of the industry may also lead to an increase in pollution and the demand of construction materials and workers. In order to shorten construction time and address labor issues, developers have explored new systems of construction such as a precast system, which is believed to help save up to 50% of labor costs and reduce about 30% of construction time. However, in comparison of construction systems, construction costs are only upfront costs, and maintenance and repairing costs of each system should be included into life cycle cost analysis. This paper is to present a comparative study of risk-based life cycle cost and carbon emission between precast and cast-in place systems. In modelling life cycle costs, sensitivity analysis will be employed to incorporate uncertainty of material and labor costs into the proposed model. The study also examines, using work study method, the amount of carbon emissions released during the construction, which will then be used to calibrate parameters in the calculation by a coefficient method.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84458
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470351321.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.