Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์-
dc.contributor.authorอโนชา ไชยหาญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-05T11:09:53Z-
dc.date.available2024-02-05T11:09:53Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84607-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และชั่วโมงการทำงานต่อวัน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่สองเป็นแบบวัดการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และส่วนที่สามเป็นแบบวัดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า  1) ระดับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง  2) อายุมีความสัมพันธ์กับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และชั่วโมงการทำงานต่อวัน มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 16.120, 12.724 และ 11.526 ตามลำดับ ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .349-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this individual study were to study 1) the level of perceived organizational support and work-life balance and 2) the relationship between personal factors: ages, education level, work experience and working hours per day, perceived organizational support and work-life balance. The samples of this individual study had been taken from 98 police in Ongkharak police station Nakhon Nayok province. The data was collected through questionnaires which consisted of 3 parts, the first part dealt with personal data, while the second part was survey of perceived organizational support. The third part was work-life balance questionnaire. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that 1) The level of perceived organizational support were rather low. The level of work-life balance were rather high. 2) A non-significance correlation between ages and work-life balance. Education level, work experience and working hours per day had positive relationship with work-life balance at .05 level of significance (X2 = 16.120, 12.724 and 11.526). Perceived organizational support had positive relationship with work-life balance at .01 level of significance (r = .349).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationPublic administration and defence; compulsory social security-
dc.subject.classificationPolitical science and civics-
dc.titleการศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-
dc.title.alternativeA study on work - life balance among police officer-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480156824.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.