Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84633
Title: | การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของธุรกิจแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า |
Other Titles: | Using design thinking to develop mobile application of clothes swapping business |
Authors: | พัทธมน ยงบุญเนียม |
Advisors: | อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการผลิตเสื้อผ้าสะสมเพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการผลิตที่ง่าย สามารถผลิตได้เยอะและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภค และหมุนไปตามกระแสแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การผลิตเสื้อผ้าก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นกระบวนการจนจบกระบวนการ นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นอีกด้วย หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหา คือ “แฟชั่นหมุนเวียน” การใช้ซ้ำวัตถุดิบเดิม หรือนำเอาวัสดุรีไซเคิลมาเป็นเสื้อผ้าใหม่ การให้เช่า ขายต่อเสื้อผ้า หรือการแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นอีกทางออกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายล้นตู้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้นำเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาเปลี่ยนเป็นสินค้าใหม่ที่เหมาะกับตนเองมากขึ้น และได้นำเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โครงการพิเศษนี้นำหลักการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เพื่อให้ได้ระบบที่สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้งานด้วยเครื่องมือสร้างต้นแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะและคำแนะนำในการพัฒนาระบบที่เป็นประโยชน์และตรงประเด็น ระบบต้นแบบที่ได้จากการพัฒนาโครงการนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของธุรกิจแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าต่อไป เพื่อช่วยให้เกิดแนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้นของวงจรเสื้อผ้า และช่วยเหลือโลกในอีกทางหนึ่ง |
Other Abstract: | Fashion industry is one of the largest industries in the world. There is an increase in the production of accumulated clothing. With a simple production process can produce a lot and quickly respond to the purchasing needs of consumers. Clothing production has a negative impact on the environment from the beginning of the process until the end of the process. In addition to environmental problems There are also labor problems that arise. One of the solutions is “Circular Fashion,” using recycled materials to make new clothes, renting, reselling or exchange clothes so that consumers can recycle clothes that are no longer in use to make them more useful. This special project adopts design thinking in analysis and design process to develop a system that can truly solve their problems. As a result, suggestions and recommendations received from target users for the development of the system are useful and relevant to the project. The prototype obtained from this project will be a guideline for the development of mobile applications for the clothing exchange business. To help create a more sustainable approach to the clothing cycle. and help the world in another way. |
Description: | สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84633 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Acctn - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6482083526.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.