Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84758
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อริศรา เจียมสงวนวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ธันยพัฒน์ ศรลัมพ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-17T03:35:22Z | - |
dc.date.available | 2024-04-17T03:35:22Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84758 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้สถาบันการศึกษาหลายประเทศทั่วโลกตัดสินใจปิดตัวลงและเปลี่ยนรูปแบบการเรียนจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบกายภาพไปเป็นการเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยอาศัยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบประสานเวลาเป็นสื่อกลาง แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาประสิทธิผลของการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบกายภาพเทียบกับการเรียนแบบออนไลน์ซึ่งพบว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบกายภาพเป็นที่ต้องการและพบว่ามีประสิทธิผลดีกว่าการเรียนรู้ออนไลน์ส่วนใหญ่ รวมถึงการศึกษาธรรมชาติของผู้เรียนพบว่าผู้เรียนต้องเรียนรู้และใช้งานหลายแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนในหนึ่งหลักสูตร ดังนั้นจึงเกิดคำถามงานวิจัยที่ว่า คุณสมบัติ (Attribute) ที่จำเป็นต้องมีเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานคืออะไร โดยในงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้แบบประสานเวลาให้สอดคล้องกันระหว่างระบบและโลกแห่งความเป็นจริง โดยจะถูกพัฒนาจาก 2 ประเด็น ทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงการใช้งานจริง โดยเริ่มต้นที่เชิงทฤษฎีทางผู้วิจัยจัดทำการทบทวนงานวิจัยและการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เชิงรุกและในเชิงการใช้งานจริง ผู้วิจัยทำการรวบรวมปัญหาการใช้งานจริงของเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบประสานเวลา หลังจากนั้นจึงสร้างแบบประเมินงานวิจัยเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงรุกในมุมมองของการพัฒนาเทคโนโลยีการเรียนรู้ แล้วจึงทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อสร้างแบบรายการตรวจสอบคุณสมบัติสำหรับการเรียนรู้แบบประสานเวลาเชิงรุก โดยรายการตรวจสอบคุณสมบัติที่ได้จะประกอบไปด้วย 9 ข้อหลัก 20 ข้อย่อย แล้วจึงทำการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบรายการตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าว จากผลการทดสอบพบว่า ความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน (Inter-Rater Reliability: IRR) ทั้ง 2 ท่าน พบว่าค่าสถิติแคปปา มีค่าเท่ากับ 0.773 ซึ่งหมายถึง ระดับความสอดคล้องของผู้ประเมินมีความสอดคล้องกันมาก จึงสรุปได้ว่ารายการตรวจสอบคุณสมบัตินี้มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | The COVID-19 pandemic has caused significant changes in every aspect of daily life, many educational institutions worldwide decided to cancel in-person classes and move all classes to online mode and used synchronized learning technologies as a medium. However, research has shown that physical classroom learning is more effective than online learning. According to the survey, about 65.9% of the sample group prefer to study on-site rather than study online regards to its limitation of interaction. This includes studies on the natural learning tendencies of students, it was found that learners had to adapt many platforms for online learning, with no single platform for all courses. Therefore, a research question arose: What attributes are essential to provide the appropriate functionality that supports active learning activities. Thus, the purpose of present study was to create an attributes checklist to guide the developers to develop technology for synchronous learning that is consistent between systems and the real world. This checklist was developed based on theoretical and practical aspects, by systematic reviews of the PRISMA-P together with users interview from both learners and teachers to extract the key factors that related to active learning in online learning platform. Then, the obtained factors were used to conduct an exploratory factor analysis for create an attributes checklist in learning context of technology development. As a result, an attributes checklist consists of 9 main items and 20 sub-items. Finally test the reliability of this attribute checklist. As a result, it was found that the Inter-Rater Reliability (IRR) between 2 raters found that the Kappa statistic was equal to 0.773, which means that the level of agreement between the raters was very consistent. Therefore, it can be concluded that this qualification checklist is reliable and can be used in practice. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนารายการตรวจสอบคุณสมบัติของเทคโนโลยีอีเลิร์นนิง แบบประสานเวลาเชิงรุก: ความสอดคล้องระหว่างระบบและ โลกแห่งความจริง | - |
dc.title.alternative | Developing an attribute checklist of synchronous active e-learning technology: consistency between system and real world | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370093321.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.