Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8801
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorเพชรัตน์ ตุงไธสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-02-04T10:02:51Z-
dc.date.available2009-02-04T10:02:51Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741426925-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8801-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะ คุณสมบัติ กระบวนการได้มา การคัดเลือกการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานในระดับสูงและระดับต่ำ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 440 คน จาก 116 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู และผู้แทนชุมชน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สำหรับการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาโรงเรียน 2 แห่ง ที่มีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในระดับสูงและระดับต่ำ เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ จากผลการวิเคราะห์ทั้ง 3 โมเดล โดยโมเดลที่ 1 นำปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษา วิเคราะห์พบว่า ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการสถานศึกษาได้ 53% โมเดลที่ 2 เมื่อนำปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษา และปัจจัยด้านระดับการปฏิบัติงานร่วมกันของคณะกรรมการสถานศึกษาวิเคราะห์ พบว่า ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศึกษาได้ 59.5% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากโมเดลที่ 1 6% และโมเดลที่ 3 นำปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการศึกษา ปัจจัยด้านระดับการปฏิบัติงานร่วมกันของคณะกรรมการสถานศึกษา และปัจจัยสถานศึกษาวิเคราะห์ ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาได้ 67% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากโมเดลที่ 2 9% ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05) ได้แก่ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษา ความสนใจในการพัฒนาการศึกษา แรงจูใจในการพัฒนาศึกษา ความเข้าใจและการยอมรับบทบาท การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การติดต่อประสานงาน วัฒนธรรมสถานศึกษา สภาพการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษา และลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาโรงเรียนที่มีประสิทธิผลการปฏิบัติในระดับสูงและต่ำพบว่า มีคุณลักษณะ คุณสมบัติ กระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการสถานศึกษา และแนวทางในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeTo study factors affecting the performance effectiveness of basic educational school boards and to study committee's characteristics and selection process from 2 schools that successful in high and low levels. This research used survey method and multi-site case studies. In terms of survey method, the simple drawn by random sampling. The sample consisted of 440 people from 116 schools under the office of the national basic education. Data were collected from the director, the chairman, the teacher and the community representatives. The research instruments were questionnaires about performance effectiveness of the basic education school boards. Data were analyzed by multiple regression analysis. For the multi-site case studies, Data from 2 schools that successful in high and low and levels were collected by interviewing, observing and document. The data were analyzed by content analysis. The research findings were summarized as follows 1. Results from multiple regression analysis found that school boards' qualities (model 1) accounted for 53% of variance for the performance effectiveness of basic educational school boards. School boards' qualities and selection process (model 2) accounted for 59.5% of variance for the performance effectiveness of basic educational school boards increasing from model 1 about 6% And model 3, school boards' qualities, selection process and school accounted for 67% of variance for the performance effectiveness of basic educational school boards increasing from model 2 about 9%. And the 9 significant predictors were the school boards who have knowledge and have experience of education, attention to develop education, motive of work, acknowledge of roles, participation in education, connection on work, culture of school, technology of school and research finding school boards. 2. For the multi-site case studies, the 2 schools that successful in high, and low levels were different in qualities and selection processes.en
dc.format.extent2571995 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1603-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการจัดการศึกษา -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen
dc.subjectคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectประสิทธิผลองค์การen
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeFactors affecting the performance effectiveness of basic educational school boardsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1603-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petcharat_Tu.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.