Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรัตน์ บัวเลิศ-
dc.contributor.advisorวงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์-
dc.contributor.authorธิดารินทร์ หงษ์ศรีสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสมุทรปราการ-
dc.date.accessioned2009-04-01T09:08:03Z-
dc.date.available2009-04-01T09:08:03Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8881-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาหาสัดส่วนแหล่งกำเนิดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีความหนาแน่นของโรงงานอุตสาหกรรมต่อพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ได้ถูกเก็บจากแหล่งรับ 4 จุดคือ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและสถานสงเคราะห์คนพิการพระประแดง โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว โรงเรียนปากคลองมอญ และโรงเรียนคลองเจริญราษฎร์ สำหรับการจำแนกแบบจำลองแหล่งรับได้มีการพิจารณาแหล่งกำเนิดหลักคือ ละอองไอจากทะเล ฝุ่นจากดินและถนน ฝุ่นจากยานพาหนะ ฝุ่นจากการใช้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม ฝุ่นจากเตาเผาขยะ ฝุ่นจากการเผาไหม้ชีวมวล กระบวนการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีเพื่อหาปริมาณ ธาตุ ไอออนละลายน้ำได้ และการวิเคราะห์คาร์บอน ทั้งจากแหล่งรับและแหล่งกำเนิด กระทำโดยวิธี X-ray fluorescence (XRF), ion chromatography (IC), uv spectrophotometer และ CHNS/O analyzer การใช้แบบจำลอง Factor analysis-multiple regression (FA-MR) และการใช้แบบจำลองดุลยภาพมวลเคมี (Chemical mass balance model) กับจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าสัดส่วนส่วนที่มาโดยเฉลี่ยของ PM10 โดยวิธี FA-MR มาจากฝุ่นดินและถนน 0-36.7% ฝุ่นจากไอเสียรถยนต์ 0-32.9% ฝุ่นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม 14.6-61.6% ฝุ่นจากกระบวนการอุตสาหกรรม 0-26.8% ละอองไอทะเล 0-4.8% และฝุ่นไม่ทราบที่มา 15.5-42.2% และการใช้วิธี CMB พบแหล่งกำเนิดมาจากฝุ่นถนน 0-25.0% ฝุ่นจากไอเสียรถยนต์ดีเซลเบา 0-12.1% ฝุ่นจากไอเสียรถมอเตอร์ไซต์ 4 จังหวะ 3.3-14.3% ฝุ่นจากการเผาขยะ 0-13.6% ฝุ่นจากการเผาชีวมวล 0-18.9% ฝุ่นจากหม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม 0-29.0% ฝุ่นจากหม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม 0-17.3% ฝุ่นจากหม้อไอน้ำที่ใช้ขี้เลื่อยเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม 0-4.7% ฝุ่นจากอุตสาหกรรมไม้ 0-22.9% ฝุ่นจากอุตสาหกรรมเซรามิค 7.1-15.4% ฝุ่นจากอุตสาหกรรมเหล็ก 0-18.5% และละอองไอทะเล 2.8-4.7%en
dc.description.abstractalternativeTo determine the apportionment of various pollution sources that affect the air quality of Samutprakarn, the province with the highest density of factories per area in Thailand. Particulate matters with nominal aerodynamic diameters less than or equal to 10 micrometers (PM10) were captured at four monitoring stations, the center for helping the disabilities in Phapradaeng, Wat Kingkaew school, Pakklongmon school and Klongcharoenrat school in 2005 twice during the dry and wet seasons respectively. Major possible sources for collected PM10 particles were classified as marine aerosols, soil and road aerosols, motor-vehicle aerosols, industrial boiler aerosols, refuse-burning aerosols and biomass-burning aerosols. Analytical techniques used to obtain chemical compositions such as selected elemental concentrations, soluble ion concentrations, organic and elemental carbon concentrations of the samples were x-ray fluorescence (XRF), ion chromatography (IC), uv spectrophotometer and CHNS/O analyzer, respectively. Factor analysis-multiple regression (FA-MR) coupling with chemical mass balance (CMB) techniques were applied to the data from measurements in both seasons to construct the model that justified the source apportionment of the pollution. From FA-MR method, the calculated PM10 source apportionment yielded soil and road aerosols 0-36.7%, motor-vehicle aerosols 0-32.9%, industrial boiler aerosols 14.9-61.6%, industrial-related aerosols 0-26.8%, marine aerosols 0-4.8%, and suspended aerosols from unknown sources. From CMB method, the resulted PM10 source apportionment was road aerosols 0-25.0%, light diesel truck aerosols 0-12.1%, 4-cycle engine motorcycle aerosols 3.3-14.3%, refuse-burning aerosols 0-13.6%, biomass-burning aerosols 0-18.9%, oil fuel industrial boiler aerosols 0-29.0%, lignite coal fuel industrial boiler aerosols 0-17.3%, saw-dust fuel industrial boiler aerosols 0-4%, lumber industry aerosols 0-22.9%, ceramic industry aerosols 7.1-15.4%, steel industry 0-18.5%, and marine aerosols 2.8-4.7%.en
dc.format.extent2422123 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1604-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมลพิษทางอากาศ -- ไทย -- สมุทรปราการen
dc.subjectฝุ่น -- ไทย -- สมุทรปราการen
dc.subjectคุณภาพอากาศ -- ไทย -- สมุทรปราการen
dc.titleการจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน สำหรับจังหวัดสมุทรปราการen
dc.title.alternativePM10 source apportionment for Samutprakan provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorbsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th-
dc.email.advisorWongpun.L@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1604-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarin.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.