Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9014
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สันติ คุณประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | สักรินทร์ อินทรวงค์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-06-11T02:17:14Z | - |
dc.date.available | 2009-06-11T02:17:14Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741313748 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9014 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการด้านการเรียนการสอนรายวิชาออกแบบหลักสูตรศิลปศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ วัตถุประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหารายวิชา วิธีการดำเนินการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ตอบแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้ คืออาจารย์และนักศึกษา จำนวน 201 คน และประชากรที่ถูกสัมภาษณ์ คืออาจารย์ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย พบว่า ทั้งสภาพและความต้องการด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากเกือบทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์การเรียนการสอน พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางการออกแบบ 2) ในด้านเนื้อหารายวิชา พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มุ่งเน้นกระบวนการออกแบบที่มีขั้นตอนใน การแก้ปัญหา 3) ในด้านวิธีการดำเนินการสอน พบว่าอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือให้นักศึกษานำเสนอผลงานออกแบบและมีการวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการเรียนการสอนเน้นฝึกผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ 4) ในด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สภาพปัจจุบันมีอยู่ในระดับปานกลางแต่มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยความต้องการสูงสุดคือ สถาบันของท่านมีหนังสือตำราเพียงพอต่อการค้นคว้า และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องช่วยในการปฏิรูปการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงสุดคือใช้ตัวอย่างผลงาน เป็นสื่อประกอบการออกแบบ 5) ในด้านการวัดและประเมินผล พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชา และวัดและประเมินผลการเรียนรู้จากตัวผลงาน ผลการสัมภาษณ์ พบว่า 1) ด้านวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ ทำงานตามจินตนาการของผู้เรียนเอง 2) ด้านเนื้อหารายวิชา กำหนดเนื้อหาจากลักษณะรายวิชา และเนื้อหาเน้นทักษะการทำงาน สามารถปฏิบัติงานได้ 3) ด้านวิธีการดำเนินการสอน ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย สาธิต และปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน ใช้ตัวอย่างผลงาน และใช้สื่อสไลด์และใช้สื่อทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 5) ด้านการวัดและประเมินผล ประเมินจากผลงานเป็นหลัก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study of state and needs of the learning and teaching in design courses in art education curriculum in higher education institutions under the Ministry of University Affairs. It composes of the instruction objectives, content, teaching process, instructional media, evaluation. Research instruments used in the study are a questionnaire and an interview form. The population were 201 lecturers and students for the questionnaire and 9 lecturers for the interview. The data analysis was conducted by using frequency distribution, percentile, mean, and standard deviation, and data was subsequently presented in the table and discussed. The results of questionnaire reveal that all the state and needs of learning and teaching are high level at every aspects. The summary are as followed. 1) Instruction objectives: All are high, and the highest level is to increase creative thinking in design 2) Content: All are high, and the highest level is to concentrate on design process, problem solving, and practicing design projects. 3) Teaching process: All are high where the highest level of the needs is to let the students present and critic the finished projects, to concentrate on learning by doing process and how to apply for another project. 4) Instructional media: The state is medium while the needs are very high, the highest. Level of the needs to have enough text books for research and new technology for learning reform, the highest level of the state is to use work samples 5) Evaluation: All are high, and the highest level is to evaluate and give grade to match the course objective as well as the finished product. The result of interview reveal that 1) Learning objectives: The students should be able to work on their own imagination. 2) Content: The content should follow the course syllabus and concentrate on working skills. 3) Teaching process: Combine the lecture demonstration, and individual project together. 4) Instructional media: Employ work-samples, slides, and technology. 5) Evaluation: Concentrate on finished product. | en |
dc.format.extent | 2578972 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การออกแบบ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) | en |
dc.title | การศึกษาสภาพและความต้องการด้านการเรียนการสอนรายวิชาออกแบบหลักสูตรศิลปศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | A study of state and needs of the learning and teaching in design courses in art education curriculum in higher education institutions under the Ministry of University Affairs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Santi.K@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sakarin.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.