Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9057
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพงศ์ ชูมาก | - |
dc.contributor.author | จันทรอร พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ลาว | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-06-13T05:00:09Z | - |
dc.date.available | 2009-06-13T05:00:09Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9740300545 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9057 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้การเจรจาระหว่างไทยและลาวสามารถบรรลุข้อตกลงอันนำไปสู่การทำความตกลงปักปันเขตทางบกในปี พ.ศ. 2539 การศึกษาพบว่า การกำหนดเส้นเขตและระหว่างไทยและลาวตั้งแต่อดีตเป็นผลมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในยุคจักรวรรดินิยม ทำให้สนธิสัญญาระหว่างไทยและฝรั่งเศสเป็นไปโดยไทยเสียเปรียบหลายประการ กล่าวคือ สนธิสัญญาไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีการปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญาให้เสร็จสมบูรณ์ ต่อมาลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2518 การเผชิญหน้ากันทางอุดมการณ์ระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียตและประเทศเสรีประชาธิปไตยภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ได้ทำให้ลาวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและเวียดนาม โดยลาวพึ่งพิงความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต และถูกครอบงำจากเวียดนามทางด้านการเมืองและการทหาร ในขณะที่ไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายพึ่งพาสหรัฐในด้านความมั่นคง ทั้งนี้เพราะไทยหวาดเกรงภัยจากประเทศเพื่อนบ้านที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะเวียดนามไทยและลาวจึงไม่อาจที่จะแก้ปัญหาพิพาทระหว่างกันเรื่องพรมแดนได้ในช่วงสงครามเย็น จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุดลง สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศภายหลังสงครามเย็นได้เอื้ออำนวยให้การปรับท่าทีระหว่างไทย-ลาวเป็นไปในทางที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้ไทยและลาวสามารถที่จะบรรลุการเจรจาและสามารถจัดตั้งองค์กรความร่วมมือในรูปของคณะกรรมการร่วมทั้งในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลและท้องถิ่นต่อท้องถิ่น และนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาเขตแดนจนกระทั่งสามารถที่จะตกลงที่จะทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis dealed with the land border settlement between Thailand and Laos. The emphasis of this study is on the factors influencing Thailand and Laos to reach the border agreement in 1996. The study found that the border delineation between Thailand and Laos has been influenced by international environment in the colonial era. The treaties between Thailand and France had left the former in a disadvantageous position: the treaties were not in accordance with the international law and the demarcating of border cited in the treaties were not entirely achieved. After communism regime had gained power in 1975, Laos was dominated by the USSR and Vietnam. While Laos depended on the USSR's economic assistance, in politics and in the military, Laos was dominated by Vietnam. As for Thailand, being conscious of the external threat, especially from Vietnam, she had to implement a policy depending on the US in security affairs. During the Cold War, Thailand and Laos could not find any solution on border disputes. However, in the post Cold War era, international environment was conducive to the promotion of good relations between the two countries. As a result, Thailand and Laos could successfully negotiate and establish joint committees in both governmental and local levels. Ultimately, the agreement to survey and demarcate their common land border was concluded. | en |
dc.format.extent | 1487426 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เขตแดน | en |
dc.subject | ไทย -- เขตแดน | en |
dc.subject | ลาว -- เขตแดน | en |
dc.subject | ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ลาว | en |
dc.title | การแก้ปัญหาพรมแดนทางบกระหว่างไทยและลาว | en |
dc.title.alternative | Land border settlement between Thailand and Laos | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chan-orn.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.