Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9113
Title: | การบำบัดน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอขั้นสูงด้วยกระบวนการออสโมซิสผันกลับ |
Other Titles: | Advanced treatment of textile effluent by the reverse osmosis process |
Authors: | สุวิทย์ กิตติภูมิชัย |
Advisors: | ชวลิต รัตนธรรมสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการออสโมซิสผันกลับ เมมเบรน (เทคโนโลยี) ออสโมซิสผันกลับ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยกระบวนการออสโมซิสผันกลับ โดยการศึกษาผลของความดันของน้ำเข้า อัตราการเวียนกลับน้ำเข้มข้น และอัตราส่วนผลิตเพอมิเอทต่อประสิทธิภาพการกำจัดพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยแบ่งการทดลองได้ 3 ขั้นตอน ซึ่งทดลองทั้งหมด 12 ชุดการทดลอง โดยทดลองขั้นตอนละ 4 ชุดการทดลอง ขั้นตอนที่ 1 แปรค่าความดันเข้าระบบ 4 ค่า ได้แก่ 250, 500, 750 และ 1,000 psi ส่วนการทดลองขั้นตอนที่ 2 การแปรค่าอัตราการเวียนน้ำเข้มข้น 4 ค่า ได้แก่ 0, 25, 50 และ 75% ตามลำดับ และการทดลองขั้นที่ 3 แปรผันอัตราส่วนการผลิตเพอมิเอท 4 ค่า ได้แก่ 5, 10, 15 และ 20% ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มความดันน้ำเข้า เพิ่มอัตราเวียนกลับน้ำเข้มข้น และเพิ่มอัตราส่วนผลิตเพอมิเอทมีผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดตัวถูกละลายต่างๆ ลดลง กล่าวคือเมื่อเพิ่มความดันน้ำเข้ามีผลทำให้ค่าของแข็งละลายในเพอมิเอทเท่ากับ 18, 24, 33 และ 37 มก./ล. ตามลำดับ และมีค่าคลอไรด์เท่ากับ 0, 3, 6 และ 10 มก./ล. ตามลำดับ เมื่อเพิ่มค่าอัตราเวียนกลับน้ำเข้มข้นเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0-75% มีค่าของแข็งละลายในเพอมิเอทเท่ากับ 16, 20, 23 และ 28 มก./ล. ตามลำดับ และมีค่าคลอไรด์เท่ากับ 8, 9, 11 และ 16 มก./ล. ตามลำดับ และเมื่อเพิ่มอัตราส่วนผลิตเพอมิเอททำให้มีค่าของแข็งละลายในเพอมิเอทเท่ากับ 15, 19, 24 และ 29 มก./ล. ตามลำดับ และมีค่าคลอไรด์เท่ากับ 11, 13, 14 และ 16 มก./ล. ตามลำดับ และทุกชุดการทดลองสามารถกำจัดสีได้เท่ากับ 100% |
Other Abstract: | To study thee factor affecting the efficiency of textile wastewater treatment by reverse osmosis process. Effects of pressure, concentration recirculation and recovery ratio were studied. Three sets experiments were performed by varied pressure, concentration recirculation and recirculation and recovery ratio. Pressure was varied from 250, 500, 750 and 1000 psi, concentration recirculation of 0, 25, 50 and 75% and recovery ratio of 5, 10, 15 and 20%, respectively. The result of this experiment showed that increasing of pressure, concentration recirculation and recovery ratio caused decreasing of efficiency, higher pressure used at 250, 500, 750 and 1000 psi had higher dissolved solids in permeate as 18, 24, 33 and 37 mg/l respectively, and higher chloride as 0, 3, 6 and 10 mg/l, when variation of concentration recirculation from 0 to 75% caused dissolved solids in permeate as 16, 20, 23 and 28 mg/l and 8, 9, 11 and 16 mg/l of chloride were found, and increasing of recovery ratio as 5, 10, 15 and 20% resulted in 15, 19, 24 and 29 mg/l of dissolved solids in permeate and 11, 13, 14 and 16 mg/l of chloride were found respectively. While 100% of colour removal was achieved in every experiments of the research. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9113 |
ISBN: | 9471307616 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.