Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบัณฑิต จุลาสัย-
dc.contributor.advisorสุปรีชา หิรัญโร-
dc.contributor.authorอรรณพ ศรีวาณัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-06-24T03:36:11Z-
dc.date.available2009-06-24T03:36:11Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741302878-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9117-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractโครงการฟื้นฟูเมืองประชานิเวศน์ เป็นโครงการที่จัดทำโดยการเคหะแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มจำนวนที่พักอาศัยให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น บนพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการฟื้นฟู และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง โดยการรื้อย้ายชุมชนเก่า ซึ่งมีทั้งหมด 240 ครอบครัวออกไปยังพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้รองรับ และทุบรื้ออาคารเดิม พร้อมจัดทำโครงการใหม่ลงในพื้นที่ สำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง-ค่อนข้างสูง การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและปัญหาดั้งเดิมของชุมชนประชานิเวศน์ ก่อนถูกรื้อย้ายและขั้นตอนในการรื้อย้าย และศึกษาความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดแผนการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบรายละเอียด ของโครงการตามแผนงานกับการปฏิบัติจริง โดยศึกษาสภาพปัจจุบันทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ถูกรื้อย้ายและกลุ่มที่พักอาศัย อยู่ในโครงการบ้านประชานิเวศน์ 1 ในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การใช้แบบสอบถาม การสำรวจภาคสนามและการสัมภาษณ์ รวมถึงการสังเกตรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว จำนวน 278 ตัวอย่าง ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสัมมะโน (Census) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า สภาพของอาคารโครงการแฟลตประชานิเวศน์ 1 (เดิม) มีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากอายุอาคารมากและขาดการบำรุงดูแลรักษา และเป็นการใช้ที่ดินเป็นจำนวนมากต่อพื้นที่อาคาร เป็นการใช้ประโยชน์อย่างไม่เหมาะสมเต็มพื้นที่ เพราะความหนาแน่นของโครงการมีเพียง 16 ครอบครัวต่อไร่ และขั้นตอนในการรื้อย้ายพบว่าใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติจริง มากกว่าระยะเวลาตามแผน 7.5 เดือน เพราะในช่วงเวลาการปฏิบัติการรื้อย้ายจริงประสบปัญหา การไม่ให้ความร่วมมือของผู้ถูกรื้อย้าย มีการเจรจาต่อรองเนื่องจากมีทั้งกลุ่มที่ยอมย้าย และกลุ่มที่ไม่ยอมย้าย ต้องหาแนวทางที่เหมาะสมจึงจะย้ายได้หมดทั้งพื้นที่ โดยใช้หลักการทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์การปกครอง เพราะในการแก้ปัญหาต้องรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคม โดยในส่วนรายละเอียดของผู้ถูกรื้อย้าย เมื่อเปรียบเทียบสภาพอาคารที่อยู่อาศัย ที่ทางการเคหะแห่งชาติเตรียมไว้รองรับมีสภาพที่ดีกว่าที่เดิม และลักษณะทางกายภาพเช่น ขนาดห้องพักอาศัย และรูปทรงอาคารแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ขั้นตอนรายละเอียดการรื้อย้าย กลุ่มผู้ถูกรื้อย้ายเห็นว่าวิธีการจับฉลากเลือกที่พักอาศัยมีความเหมาะสม รองลงมาคือทำเลที่ตั้ง เพราะระยะทางห่างจากที่เดิมเพียง 6 กิโลเมตร ทำให้ไม่มีสภาพเปลี่ยนแปลงมากนักทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความเปลี่ยนแปลงพอสมควร เนื่องจากผู้ถือรื้อย้ายเข้ามาอยู่รวมในชุมชนที่มีขนาดใหญ่ 1,396 หน่วย จากโครงการเดิมที่มีเพียง 240 หน่วย ในส่วนความเป็นมาและรายละเอียดของโครงการพบว่า เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพมหานครเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่ดินในโครงการปัจจุบันมีราคาสูงและทำเลที่ตั้งมีศักยภาพเหมาะสมสำหรับการฟื้นฟู โดยสามารถเพิ่มจำนวนที่พักอาศัยได้มากถึง 3.5 เท่าเพราะในการจัดทำโครงการฟื้นฟูความหนาแน่นเพิ่มขึ้น 56 ครอบครัวต่อไร่ เป็นการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา เพื่อให้เหมาะสมและคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยรายละเอียดของแผนงานที่ได้จัดทำขึ้นเป็นเวลา 4 ปีเมื่อการปฏิบัติจริงเป็นเวลา 5 ปี 3 เดือน เพราะถือได้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่และระยะเวลารื้อถอนเพื่อสร้างใหม่ก็ยาวนานมาก เพราะฉะนั้นแผนที่ดีที่สุดจะเป็นแผนที่ถูกยอมรับในขั้นสุดท้าย และกลุ่มเป้าหมายของโครงการฟื้นฟูเมืองประชานิเวศน์หลังจัดทำโครงการแล้วเสร็จ ที่เข้ามาพักอาศัยมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างดีส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีปริญญาโท มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่ที่เข้ามาพักอาศัยในโครงการคิดว่ามีองค์ประกอบที่ดีคือ ทำเลที่ตั้ง รองลงมาคือ มีความมั่นใจเพราะเป็นของรัฐบาล ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่า ควรที่จะมีการติดตามผลในส่วนของการประเมินผลโครงการฟื้นฟูเมืองประชานิเวศน์ต่อไป เพราะถือได้ว่าเป็นโครงการนำร่องของการฟื้นฟูเมืองที่มีขนาดใหญ่ และเป็นของรัฐบาล นอกจากนี้ควรทำการศึกษาแนวทางการรื้อที่อยู่อาศัยในบริเวณอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาในลักษณะที่เป็นประเภทเดียวกันกับโครงการวิจัยนี้ ก็จะเป็นประโยชน์กับโครงการในลักษณะเดียวกันต่อไปในอนาคตen
dc.description.abstractalternativeThe Prachaniwed Urban Renewal Project is undertaken by the National Housing Authority with the aim to increase the number of housing to the maximum including improving the environment of the potential area which gives high economic return. This can be done by relocating all of the 240 families from the old community to the provided area, demolishing old buildings and having the new project done in the abandoned area for above average income earners. The purposes of this study were to research the conditions and problems of the Prachaniwed community before relocation, steps in relocation and the background of the project. The detailed operational plan was also studied by comparing the details of the project as planned with the actual operation. The present physical, economic and social conditions of 2 target groups were investigated. The target groups were the relocated group and the one currently living in the Prachaniwed Housing Project 1. Questionnaires, field surveys, interviews and data collection from related agencies and the 2 target groups were used as research tools. 278 samples were randomly selected through census. The data was analyzed by using percentage, means, the highest point and the lowest one. It was found that the conditions of Prachaniwed 1 Project (original) are deteriorating due to old age and a lack of maintenance. The use of land is considered a lot in comparison with the buildings. It is considered that the use of land is not to the maximum since the concentration of the project is 16 families a rai. With regards to steps in relocation, the actual time for relocation is 7.5 months longer than the planned period. Problems also arise when the actual relocation takes place. Such problems include the co-operation of those who have to move out because some would like to move out while others would not. In order to solve these problems and to maintain the social structure, principles of law and government are employed. The new places provided by the National Housing Authority are better than the old ones in terms of residential units and the building models. As for detailed steps of moving out, the residents agree that drawing lots to choose the units is reasonable and the location, which is 6 kilometers away from the original site, is acceptable. In terms of economy, there is little change while there is a change in social environment since the residents have to move into a bigger community, from 240 units to 1,396 units. Regarding the background and details of the project, it was found that Bangkok has been growing dramatically. The prices of the land of the land of the existing project are high and the land has a potential to expand. The residential units can be increased as much as 3.5 times because one rai can accommodate up to 56 families. In this regard, the land is used to the maximum of development to suit the economic and social aspects. The project is a four-year plan but it actually takes 5 years and 3 months to complete the project since it is a big project and the moving out takes a long time. After the completion of the project, the target group moving in has relatively good economic and social background. Most are undergraduates and graduates with an income of more than 55,000 baht a month and what attracts them most is the location, followed by reliability since the project was launched by the government. The study suggests that an evaluation of the project should be made because it is considered a big government pilot project. In addition, guidelines for moving out residents in a similar project as this one should be studied so that the land can yield the maximum profit.en
dc.format.extent6392731 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครงการฟื้นฟูเมืองประชานิเวศน์en
dc.subjectเมือง -- การเจริญเติบโตen
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมืองen
dc.titleการติดตามผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูเมืองประชานิเวศน์en
dc.title.alternativeAn assessment of the implementation of the Prachaniwed Urban Renewal Projecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorcbundit@yahoo.com, Bundit.C@chula.ac.th-
dc.email.advisorSupreecha.H@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.127-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Annop.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.