Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9141
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย - จิตแบบชี่กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด |
Other Titles: | The effect of symptom management program combined with qiging on fatigue in breast cancer patients recieving chemotherapy |
Authors: | วัชรวรรณ จันทรอินทร์ |
Advisors: | สุนิดา ปรีชาวงษ์ สุรีพร ธนศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sunida.P@Chula.ac.th Sureeporn.T@Chula.ac.th |
Subjects: | กายบริหาร การออกกำลังกาย ชี่กง เต้านม -- มะเร็ง |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกายจิตแบบชี่กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมหลังผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัดเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 รายเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 รายโดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ และการได้รับเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และการพยาบาลตามปกติ ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจาก แบบจำลองการจัดการกับอาการ ของDodd และคณะ (2001) และแนวคิดการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ 3) การบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันที ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 2. ภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ คะแนนความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มทดลอง แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This quasi-experimental research aimed to examine the effect of the Symptom Management Program combined with Qigong on fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy. The study samples were 40 outpatients with breast cancer receiving chemotherapy at the Ramathibodi Hospital. The participants were random into the control group and the experimental group. The groups were matched in terms of age and chemotherapy regimen. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the Symptom Management program conbined with Qigong together with conventional nursing care. This program, based on the Symptom Management Model (Dodd, et al., 2001) and complementary concepts, was comprised of four sessions: 1) symptom experience assessment, 2) knowledge providing, 3) Qigong practice, and 4) fatigue management evaluation. The instrument for collecting data was the Fatigue Questionnaire and was tested for reliability with Cronbach's alpha coefficient of .93. Data were analyzed using descriptive statistics, and ANCOVA. The major findings were as follows: 1. There was no significant difference on the mean fatigue score of the breast cancer patients between the two groups, immediately post intervention (p>.05). 2. The mean fatigue score of the breast cancer patients in the experimental group was significantly lower than that of the control group, at 2 weeks post interventions (p<.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9141 |
ISBN: | 9741423357 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wacharawan.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.