Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/914
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorศิริพร อ้วนคำ, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-21T04:49:15Z-
dc.date.available2006-07-21T04:49:15Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741700148-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/914-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบ การเปิดรับข่าวสาร รวมถึงความรู้ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ โดยจำแนกตามคุณลักษณะประชากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การเปิดรับข่าวสาร และความรู้ ที่มีต่อข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติของกลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดสุวรรณคีรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านบางกะปิ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนศึกษานารี ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ One Way ANOVA และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้ Pearson's Product Moment Correlation และทำการประมวลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเรื่องสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปิดรับข่าวสารเรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียน 5. การเปิดรับข่าวสารเรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียน 6. ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study 1) the information exposure, knowledge and participation in environmental activities among students in schools joining the School Environmental Challenge Awards Project 2) the correlation between information exposure and knowledge in environmental issues of the students 3) the correlation between information exposure and participation in environmental activities of the students 4) the correlation between knowledge and participation in environmental activities of the students. A survey research was conducted with a random sample size of 400 students in 3 schools in Bangkok area namely Wat Suwankiri School, Bann Bangkapi School and Suksanaree School. The percentage, mean, t-test, One way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were used to analyze the data. Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) Programme was employed for data processing. The results of the research were as follows ; 1) Students with different age and education were significantly different in terms of environmental information exposure. 2) Students with different age and education were significantly different in terms of knowledge in environmental issues. 3) Students with different age and education were significantly different in terms of participation in environmental activities. 4) Information exposure of environmental issues was not significantly correlated with knowledge in environmental issues of students. 5) Information exposure of environmental issues was positively and significantly correlated with participation in environmental activities of students. 6) Knowledge in environmental issues was not positively and significantly correlated with participation in environmental activities.en
dc.format.extent2365376 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.482-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectสื่อมวลชนกับสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectการเปิดรับข่าวสารen
dc.subjectโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติen
dc.titleการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติen
dc.title.alternativeInformation exposure knowledge and participation in environmental activities among students in schools joining the school environmental challenge awards projecten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.482-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.